
Ban-Kru
Website เพื่อการเรียนรู้








ข้อตกลงในการพัฒนางาน
Performance Agreement : PA
ครู กศน. ตำบล


ครูอาสาสมัคร กศน.

ครูหลักสูตร ปวช. (กศน.)
ร่องรอย-เอกสารทางวิชาการ ประกอบ
ข้อตกลงในการพัฒนางาน
Performance Agreement : PA
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

1. ด้านการจัดการเรียนรู้
1.1 การพัฒนาหลักสูตร
1) แผนการลงทะเบียนเรียนรายภาคเรียน
2) ตารางการวิเคราะห์หลักสูตร
1.2 การออกแบบการเรียนรู้
1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ
“การเรียนรู้ด้วยตนเอง”
2) จัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ
“การพบกลุ่ม”
3) จัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ
“การสอนเสริม”
1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้
1) แผนจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2) แผนจัดการเรียนรู้แบบพบกลุ่ม
3) แผนการสอนเสริม
1.4 การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้
1) หนังสือแบบเรียน
2) ใบความรู้ / ใบงาน
3) แผ่นสไลด์ประกอบการบรรยาย
4) แบบเรียนสำเร็จรูป
5) คลิปวิดีโอประกอบการเรียนรู้
6) ห้องเรียนออนไลน์


1.5 การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้
1) แบบประเมินความพึงพอใจ
2) แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
3) แบบทดสอบก่อนเรียน
4) แบบทดสอบย่อย(Quiz)
1.6 การศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้
1) แบบประเมินความพึงพอใจ
2) แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ Google Form
3) แผนจัดการเรียนรู้ เรื่องการแก้ปัญหาที่น่าเชื่อถือ
1.7 การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน
- ผังรูปแบบการจัดสถานที่เพื่อจัดกิจกรรม
พบกลุ่ม/ห้องสอนเสริม
1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน
1) กรอบคุณธรรมเบื้องต้น
2) แบบประเมินคุณธรรม
2. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน
การจัดการเรียนรู้
2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศ
ของผู้เรียนและรายวิชา
1) แบบบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (กศน.4)
2) แบบรายงานสรุปผลการเรียน (กศน.5)
3) ข้อมูลนักศึกษาในระบบ DMIS
4) ข้อมูลประวัตินักศึกษารายบุคคล
5) ข้อมูลประวัติการลงทะเบียนเรียนและผลการเรียนรู้รายวิชา
2.2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
1) (Chat Box) / Website
2) ระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
(Advice Center)

2.3 ปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่น

1) คู่มือการดำเนินการจัดการศึกษานอกระบบ
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
2) คู่มือการดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
3) แผนการนิเทศการจัดกิจกรรมการศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
4) เครื่องมือนิเทศ
5) ค่าเป้าหมาย และมาตรฐานการศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
1) พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน (LMS:
Learning Management System)
2) ออกแบบระบบการสร้างแบบสอบถาม แบบทดสอบ บนระบบเครือข่าย (On line) โดยใช้โปรแกรม Google Form
3) ออกแบบระบบการพบกลุ่มบนระบบเครือข่าย (Online) โดยใช้โปรแกรม Google Meet
3.2 มีส่วนร่วม และเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทางวิชาชีพ
- เอกสาร-หลักฐาน การมีส่วนร่วม และเป็นผู้นำ
ในการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ ทางวิชาชีพ
ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
(ตามบันทึกข้อตกลงในการพัฒนางาน)
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Performance appraisal
การประเมินผลการปฏิบัติราชการ
ของพนักงานราชการ
ประจำปีงบประมาณ 2564

หน้าที่และความรับผิดชอบพนักงานราชการ
: ครู กศน. ตำบล
1. ภารกิจหลัก จัดกิจกรรมารเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ตามภารกิจเฉพาะ กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
1) สำรวจ รวบรวม วิเคราะะห์ข้อมูลกลุ่มเป้าหมำยและข้อมูลบริบทของชุมชนในตำบล ที่รับผิดชอบตามรูปแบบการวางแผนจุลภาคอย่างมีคุณภาพ
2) วางแผนการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
3) ส่งเสริม สนับสนุน ประสานการทำงาน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับภาคีเครือข่าย
4) ให้บริการข้อมูล ข่าวสาร ชุมชนและภาคีเครือข่าย
5) พัฒนาตนเอง พัฒนาสื่อ พัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
6) ปฏิบัติงานร่วมกับ ครู ศรช. ครูอาสาสมัคร กศน. บรรณารักษ์ วิทยากร ครูสอนเสริม ภูมิปัญญา อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน ฯลฯ
7) ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการ กศน. ตำบล
8) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ตัวชี้วัด เกณฑ์การให้คะแนน น้ำหนักร้อยละ
ค่าคะแนน สำหรับประเมิณผลการปฏิบัติงาน
ของพนักงานราชการ
(ใช้ประเมิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564)
: ครู กศน. ตำบล
1. จำนวนข้อมูลในระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ DMIS : น้ำหนักร้อยละ 5
2. ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนปฏิบัติการ กศน. ตำบล : น้ำหนักร้อยละ 8
3. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเป้าหมาย : น้ำหนักร้อยละ 10
4. ร้อยละผู้จบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องที่นำความรู้ไปใช้เมื่อเทียบกับกลุ่มเป้าหมาย : น้ำหนักร้อยละ 9
5. จำนวนผู้รับบริการการศึกษาตามอัธยาศัย : น้ำหนักร้อยละ 7
6. จำนวนกิจกรรมที่จัดในแหล่งเรียนรู้บ้านหนังสือชุมชน เมื่อเทียบกับเป้าหมาย : น้ำหนักร้อยละ 7
7. ระดับความสำเร็จของการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน : น้ำหนักร้อยละ 7
8. จำนวนงานตามนโยบายเร่งด่วน หรืองานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย : น้ำหนักร้อยละ 22
9. ระดับความสำเร็จในการจัดทำผลการปฏิบัติงานที่ดี (Best Practice) : น้ำหนักร้อยละ 5
สรุป : ตัวชี้วัด 9 ข้อ ค่าน้ำหนักร้อยละ 80




หน้าที่และความรับผิดชอบพนักงานราชการ
: ครูอาสาสมัคร กศน. (พื้นที่ปกติ)
1. ภารกิจหลัก จัดกิจกรรมการเรียนการสอน/ กิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้
1) สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ศึกษาชุมชน วางแผนระดับจุลภาค โดยดำเนินการ ร่วมกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ในระดับตำบล/ หมู่บ้าน
2) ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการ ประสานงานกับหน่วยงาน/ เครือข่ายทั้งภาครัฐ และเอกชนในทุกระดับ เพื่อระดมสรรพกำลังในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3) ส่งเสริม สนับสนุน ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ทุกรูปแบบในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
4) ร่วมกับชุมชนในการพัฒนาเพื่อให้เกิดระบบการบริหารจัดการและการศึกษาตลอดชีวิต ในระดับชุมชน/หมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง
5) ให้บริการข้อมูล ข่าวสาร ชุมชนและภาคีเครือข่าย
6) นิเทศ ติดตาม ประเมินผล สรุปผลในการดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอก โรงเรียนทุกรูปแบบ ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน
7) พัฒนาตนเอง พัฒนาสื่อ พัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้ อย่างเหมาะสม
8) ปฏิบัติงานร่วมกับ ครู ชาศน.ตำบล ครู ศรช. บรรณารักษ์ วิทยากร ครูสอนเสริม ภูมิปัญญา อาสาสมัครส่งเสริมการอำน ฯลฯ
9) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย



ตัวชี้วัด เกณฑ์การให้คะแนน น้ำหนักร้อยละ
ค่าคะแนน สำหรับประเมิณผลการปฏิบัติงาน
ของพนักงานราชการ
(ใช้ประเมิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564)
: ครูอาสาสมัคร กศน.
1. จำนวนข้อมูลสารสนเทศ : น้ำหนักร้อยละ 10
2. ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนปฏิบัติการ-ปฏิทินปฏิบัติงาน : น้ำหนักร้อยละ 10
3. จำนวนกิจกรรม-โครงการ ในการส่งเสริม สนับสนุน ประสานงานและติดตามผล : น้ำหนักร้อยละ 20
4. จำนวนงานตามนโยบายเร่งด่วนหรืองานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย : น้ำหนักร้อยละ 40
การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการทั่วไป
การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการให้ประเมินจากผลงานของพนักงาน ราชการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน และพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน ดังนี้
1. การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน (ร้อยละ 80)
ให้พิจารณาจากความสำเร็จของงาน โดยผลสัมฤทธิ์ของงาน หมายถึง การทำงานได้สำเร็จหรือบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ดังนี้
1. ปริมาณงาน
2. คุณภาพผลงาน
3. ความรวดเร็วหรือความตรงต่อเวลา
4. การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
2. การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (ร้อยละ 20)
ให้ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออก ในการปฏิบัติงานในระหว่างรอบการประเมิน และส่งผลต่อความสำเร็จของงานจากสมรรถนะที่เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติงาน ดังนี้
1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
2. การบริการที่ดี
3. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ
4. การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม
5. การทำงานเป็นทีม
ในแต่ละรอบการประเมิน ให้หน่วยงาน/สถานศึกษานำผลคะแนนการประเมินผล การปฏิบัติงานของพนักงานราชการมาจัดกลุ่มตามผลคะแนนเป็น 5 ระดับ คือ ดีเด่น ดีมาก ดี พอใช้ ต้องปรับปรุง โดยกำหนดช่วงคะแนนประเมินของแต่ละระดับผลการประเมิน ดังนี้
ระดับ
ดีเด่น
ดีมาก
ดี
พอใช้
ต้องปรับปรุง
ช่วงคะแนน
95 - 100 คะแนน
85 - 94 คะแนน
75 - 84 คะแนน
65 - 84 คะแนน
น้อยกว่า 65 คะแนน
ในกรณีที่ผลรวมของคะแนนผลการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งสององค์ประกอบรวมกัน มีเศษทศนิยม 0.5 ขึ้นไปให้ปัดเป็น 1

การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ของพนักงานราชการทั่วไป
ดำเนินการดังนี้
1. ช่วงเริ่มรอบการประเมิน ให้หน่วยงาน/สถานศึกษากำหนดเป้าหมายผลสำเร็จของงาน ในภาพรวมของส่วนราชการที่จะมอบหมายให้พนักงานราชการปฏิบัติ จากนั้นให้ผู้บังคับบัญชา/ผู้ประเมิน และพนักงานราชการแต่ละคนร่วมกันวางแผนการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและ/หรือความสำเร็จของงาน ซึ่งพนักงานราชการผู้นั้นต้องรับผิดชอบในรอบการประเมินนั้น โดยกำหนดดัชนีชี้วัดหรือหลักฐานบ่งชี้ความสำเร็จของงานอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งพฤติกรรมในการทำงานที่คาดหวังด้วย
2. ในระหว่างรอบการประเมิน ให้ผู้บังคับบัญชา/ผู้ประเมินติดตามความก้าวหน้า ในการปฏิบัติงานตามแผนการปฏิบัติงาน รวมทั้งคอยให้คำปรึกษา แนะสถานศึกษาและช่วยแหลือในการแก้ไขปัญหา ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้พนักงานราชการสำมารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายและผลสำเร็จของงานที่กำหนด
3. เมื่อครบรอบการประเมิน ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกำหนด จัดทำบัญชี รายชื่อพนักงานราชการตามลำดับคะแนนผลการประเมิน เสนอคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผล การปฏิบัติงาน พร้อมทั้งแจ้งผลการประเมินให้พนักงานราชการทราบ
4. ระยะเวลาการประเมิน กำหนดให้ประเมิน ปีละ 2 ครั้ง ตามปีงบประมาณ คือ
ครั้งที่ 1 ประเมินผลในช่วงการปฏิบัติงาน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ปีถัดไป
ครั้งที่ 2 ประเมินผลในช่วงการปฏิบัติงาน ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ปีเดียวกัน
5. การแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการทั่วไป ระดับจังหวัด ประกอบด้วย
1) หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ประธาน
2) ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่กำกับดูแลพนักงานราชการกรรมการ
3) ผู้ปฏิบัติงานด้านการเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย กรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีหน้าที่ในการกลั่นกรอง การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมจากการใช้ดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชา หรือผู้ประเมินก่อนที่จะเสนอผลการประเมินต่อหัวหน้าส่วนราชการ
โปรดตอบคำถามในแบบประเมินนี้ เฉพาะ
ครูอาสาสมัคร กศน. - ครู กศน. ตำบล
อำเภอเมืองยโสธร-ทรายมูล-ป่าติ้ว เท่านั้น
ครูอาสาสมัคร กศน.
อำเภอเมืองยโสธร-ทรายมูล-ป่าติ้ว
โปรดคลิกเพื่อตอบแบบสอบถาม
(จำเป็น)
ครู กศน. ตำบล
อำเภอเมืองยโสธร-ทรายมูล-ป่าติ้ว
โปรดคลิกเพื่อตอบแบบสอบถาม
(จำเป็น)
คำตอบของท่าน จะถูกบันทึกไว้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการประเมินของคณะกรรมการฯ ตามคำสังของสำนักงาน กศน. จังหวัดยโสธร เพื่อประโยชน์ของท่าน
1. โปรดตอบคำถามให้ครบถ้วนถูกต้อง
2. เตรียมเอกสาร-หลักฐาน ตามเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัด เสนอต่อคณะกรรมการในวันประเมิน
3. กำหนดการประเมิน (หากมีการเปลี่ยนแปลง จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง)
1) กศน. อำเภอป่าติ้ว 23 เมษายน 2564
2) กศน. อำเภอทรายมูล 26 เมษายน 2564
3) กศน. อำเภอเมืองยโสธร 27-28 เมษายน 2564

ตรวจสอบข้อมูล-ความถูกต้อง ได้ที่นี่
(ห้ามแก้ไขในไฟล์นี้ / เปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ Google Form)
ขอขอบคุณในความร่วมมือจากทุกท่าน
www.krubanlu.com
งานเลขานุการคณะกรรมการ