

การจัดการศึกษาต่อเนื่อง
ใน กศน. อำเภอเมืองยโสธร
แนวทางการดำเนินงาน
จัดการศึกษาต่อเนื่อง 2564 (ไฟล์ PDF)
มาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ด้าน "การศึกษาต่อเนื่อง"

ความเป็นมาและเหตุผล
กระทรวงศึกษาธิการได้ปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการจัดการศึกษาต่อเนื่อง พ.ศ. 2554 ประกาศ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและ สนับสนุนการศึกษาให้บุคคลได้รับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึงและ มีคุณภาพตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเป็นการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคลได้รับการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษา แห่งชาติและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการจึงวางระเบียบไว้ดังนี้ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่ำด้วย การจัดการศึกษาต่อเนื่อง พ.ศ.2554” โดยได้กำหนดจุดมุ่งหมายสำคัญในการพัฒนาคนไทย ให้ได้รับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต ทั้งด้านประชากร การเมืองการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเชื่อมโยงสังคมเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย ระดับภูมิภาคและระดับโลก จึงจำเป็นที่จะต้องจัดการ เรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายประชาชนได้รับการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งด้านการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาสังคมและชุมชน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ วิธีการและรูปแบบที่หลากหลาย ตามความต้องการและความสนใจของประชาชนทุกกลุ่มช่วงวัย โดยเน้นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ตามหลักปรัชญาคิดเป็นและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง




สำนักงาน กศน. จึงได้กำหนดเป็นนโยบายด้าน จัดการศึกษาต่อเนื่องโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาการงานและอาชีพให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาเพื่อ พัฒนางานระดับพื้นฐาน ระดับกึ่งฝีมือ และระดับฝีมือที่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของ กลุ่มเป้าหมาย มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ หรือเพิ่มพูนรายได้ ทั้งนี้ ให้มีการพัฒนาหลักสูตรและวิธีการที่หลากหลายและทันสมัย สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง และ จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้แก่ทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยจัดกิจกรรมการศึกษามุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความสามารถในการจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน มุ่งจัดการศึกษาเพื่อสังคมและชุมชน ด้วยรูปแบบการประชุมสัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสม กับกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นการสร้างจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมืองดี เศรษฐกิจ ชุมชน และการอนุรักษ์ พัฒนาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการจัดการศึกษาต่อเนื่องหลักสูตร เชิงบูรณาการ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาระบบคลังหลักสูตร การศึกษาต่อเนื่องให้ได้มาตรฐาน และสะดวกต่อการใช้งาน เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาของ สถานศึกษาและภาคีเครือข่าย

หลักการดำเนินงานและบทบาทหน้าที่
1. จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยยึดหลักความสอดคล้องกับ ศักยภาพ และความพร้อมของผู้เรียน ความหลากหลายตามความแตกต่างของกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งบูรณาการหลักปรัชญาคิดเป็น และ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้ตามความเหมาะสม
2. พัฒนาหลักสูตรที่ยึดหลักความสอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของ กลุ่มเป้าหมาย เป็นไปตามสภาพบริบทชุมชนและสังคม รวมถึงนโยบายของทางราชการ
3. มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐาน ทักษะ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
4. ยึดหลักการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพ พัฒนา ทักษะชีวิต และพัฒนาสังคมและชุมชน
2. ให้กลุ่มเป้าหมายได้เห็นช่องทางการประกอบอาชีพ หรือการต่อยอดอาชีพเดิมให้ พัฒนาสามารถพึ่งพาตนเองได้
3. ให้กลุ่มเป้าหมายดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข สอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กลุ่มเป้าหมาย
ประชาชนทั่วไปที่มีความต้องการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะในการ ประกอบอาชีพ เป็นการเพิ่มรายได้ ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายตามนโยบายของรัฐ อาทิกลุ่มผู้สูงวัย กลุ่มเยาวชนนอกระบบ กลุ่มวัยแรงงาน กลุ่มประชาชนบริเวณชายแดนภาคใต้ และกลุ่มประชาชน พื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
1. จัดโดยสถานศึกษา กศน. สามารถจัดการเรียนรู้ได้ทั้ง 5 วิธี คือ การเรียนรู้ เป็นกลุ่ม การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ การเรียนรู้ในสถานประกอบการ การเรียนรู้จากฐานการเรียนรู้ และการเรียนรู้รายบุคคล
2. จัดโดยสถานศึกษาร่วมกับภาคีเครือข่าย สามารถจัดการเรียนรู้ได้ทั้ง 5 วิธี คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่ม การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ การเรียนรู้ในสถานประกอบการ การเรียนรู้จากฐาน การเรียนรู้ และการเรียนรู้รายบุคคล
3. จัดโดยภาคีเครือข่าย ภาคีเครือข่ายสามารถจัดการเรียนรู้ได้ทั้ง 2 วิธี คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่ม และการเรียนรู้รายบุคคล

นิยามศัพท์
การศึกษาต่อเนื่อง หมายถึง การจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบที่เป็น หลักสูตรระยะสั้น ที่จัดตามความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพ ทักษะชีวิต การพัฒนาสังคมและชุมชน ซึ่งรวมถึงการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ การใช้เทคโนโลยี ซึ่งน าไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต
วิทยากร หมายถึง บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งจากสถานศึกษาหรือภาคี เครือข่ายให้ทำหน้าที่จัดการเรียนรู้ตามกิจกรรมของการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
ผู้เรียน หมายถึง ผู้ที่ได้สมัครเข้ารับการศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษาหรือภาคี เครือข่าย
การเรียนรู้เป็นกลุ่ม หมายถึง การเรียนรู้ตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป ที่ต้องการเรียนรู้ใน หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษา หรือภาคีเครือข่าย
การพัฒนาอาชีพ หมายถึง การศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะใน การประกอบอาชีพของบุคคล เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าสู่อาชีพ สามารถประกอบอาชีพ หรือพัฒนาอาชีพ ของตนเองได้ โดยพิจารณาถึงความต้องการในการเรียนของแต่ละบุคคล
การพัฒนาทักษะชีวิต หมายถึง การศึกษาที่ให้ความส าคัญกับการพัฒนาคน เพื่อให้ มีความรู้ เจตคติและทักษะที่จ าเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน เพื่อให้บุคคลสามารถเผชิญ สถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมความพร้อมกับการปรับตัว ในอนาคตเช่น สุขภาพกายและใจ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ที่ดี เป็นต้น
การพัฒนาสังคมและชุมชน หมายถึง เป็นการศึกษาที่บูรณาการความรู้และทักษะ จากการศึกษาที่ผู้เรียนมีอยู่หรือได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบ แล้วน าไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย และใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้ของคนในชุมชน เช่น ประชาธิปไตย สิ่งแวดล้อม วิสาหกิจชุมชน การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เป็นต้น

การจัดการศึกษาต่อเนื่อง
รูปแบบและวิธีการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
1. รูปแบบกลุ่มสนใจ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนที่มีการรวมกลุ่ม หรือไม่รวมกลุ่ม ดังนี้
1.1 จัดกิจกรรมตามความต้องการและความสนใจที่มีการรวมกลุ่มกัน ของผู้เรียน ตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป หลักสูตรไม่เกิน 30 ชั่วโมง
1.2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามภารกิจ เช่น อำเภอเคลื่อนที่ จังหวัดเคลื่อนที่ ฯลฯ ผู้เรียนไม่มีการรวมกลุ่ม สนใจสมัครเรียน ณ สถานที่จัดกิจกรรม หลักสูตรไม่เกิน 5 ชั่วโมง
2. รูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรตั้งแต่ 31 ชั่วโมง ขึ้นไป ผู้เรียนตั้งแต่ 11 คนขึ้นไป
3. รูปแบบกิจกรรมฝึกอบรมประชาชน เป็นการอบรม การศึกษาดูงานการจัดเวที ประชาคม หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีลักษณะเป็นการฝึกอบรม มีเนื้อหาเกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อพัฒนา ทักษะชีวิต กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ มีเจตคติ และ ทักษะที่จ าเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน โดยมีโครงการและหลักสูตรที่มีช่วงระยะเวลาจัด ที่แน่นอน ผู้เรียนกลุ่มละ 15 คนขึ้นไป หลักสูตร 1-3 วัน 4. รูปแบบการเรียนรู้รายบุคคล เป็นการเรียนรู้ของผู้เรียนบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ ต้องการจะเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษาหรือภาคีเครือข่าย
การจัดการศึกษาต่อเนื่อง เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายประชาชนทั่วไป ทุกกลุ่มวัยได้รับการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการ ด้านการพัฒนาอาชีพ พัฒนาทักษะชีวิต พัฒนาสังคมและชุมชน ตามหลักปรัชญาคิดเป็นและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีกรอบ การจัดการศึกษาต่อเนื่อง ดังนี

การจัดการศึกษาต่อเนื่อง
รูปแบบกลุ่มสนใจ
1. ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชน
สถานศึกษาประชาสัมพันธ์กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษาหรือ สอบถามความต้องการ ความสนใจของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจ ภารกิจของสถานศึกษาด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ เวทีชาวบ้าน ผ่านผู้น าชุมชน หอกระจายข่าว หรือช่องทาง Website facebook LINE เป็นต้น
2. รวมกลุ่มผู้เรียน
ประชาชนที่มีความสนใจ ต้องการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ตรงกัน รวมตัว อย่างน้อยกลุ่มละ 6 คนขึ้นไป จัดทำรายชื่อผู้เรียนในใบลงทะเบียน เพื่อประสานสถานศึกษา
3. จัดหา หรือจัดทำหลักสูตร
3.1 สถานศึกษาจัดหาหลักสูตรเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ในข้อ 2 โดยหลักสูตรต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา อนุมัติหลักสูตร
3.2 สถานศึกษาจัดหาวิทยากร ที่มีความรู้และหรือมีประสบการณ์ในการ จัดการเรียนรู้และเนื้อหาตามหลักสูตร และให้วิทยากรเขียนใบสมัครเป็นวิทยากรการจัดการศึกษา ต่อเนื่อง

4. จัดทำเอกสารขออนุญาตจัดการศึกษาต่อเนื่อง
4.1 มีคำสั่งแต่งตั้งวิทยากร สำเนาให้วิทยากรเพื่อทราบ
4.2 จัดทำเอกสารเพื่อขออนุญาตจัดการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อเสนอต่อผู้บริหาร สถานศึกษา 4.3 แผนที่สถานที่จัดการศึกษาต่อเนื่อง หรือใช้จากแผนที่ google map ได้เพื่อเป็นข้อมูลในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ได้ถูกต้อง
4.4 หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ที่สถานศึกษาเคยจัด สามารถน ามาใช้ได้เลย หากเป็นหลักสูตรที่ไม่เคยจัด ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาจากสถานศึกษาอื่นหรือจัดทำขึ้นใหม่ ต้องผ่าน ความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและขออนุมัติให้ใช้โดยผู้บริหารสถานศึกษา
4.5 ใบลงทะเบียนผู้สมัครเรียนหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ซึ่งสถานศึกษา สามารถปรับได้ตามความเหมาะสม เพื่อความสะดวกของประชาชนผู้สนใจ
4.6 ใบสมัครวิทยากรการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
4.7 คำสั่งแต่งตั้งวิทยากร
4.8 รายการวัสดุอุปกรณ์ ที่ขออนุมัติหลักการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ ในการจัด การศึกษาต่อเนื่องของแต่ละหลักสูตร จะต้องสอดคล้องกับเนื้อหาและการจัดกระบวนการเรียนรู้ในแต่ ละหลักสูตร

5. จัดทำบันทึกขออนุญาตจัดการศึกษาต่อเนื่อง
6. สถานศึกษาดำเนินการจัดทำหนังสือแจ้งการจัดกิจกรรม
เสนอต่อ สำนักงาน กศน.จังหวัด ก่อนการจัดกิจกรรมอย่างน้อย 1 สัปดาห์
7. จัดการเรียนรู้ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
7.1 สถานศึกษาจัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์รวมทั้งจัดเตรียมความพร้อมของ ผู้เรียน ในการเรียนรู้
7.2 วิทยากรจัดเตรียมสื่อและจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรโดยจัดเตรียม เอกสารการจัด ดังนี้ ใบลงเวลาวิทยากร ใบลงเวลาผู้เรียน เกณฑ์การให้คะแนนแบบประเมินความพึงพอใจ
7.2 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ พร้อมเกณฑ์การให้คะแนนตามแบบประเมินผลการจัดการศึกษาต่อเนื่อง แบบประเมินความพึงพอใจ ต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรของวิทยากร ในการนำไปใช้ในชีวิตได้อย่างไร
8. จัดทำหลักฐานการจบหลักสูตร
วิทยากรรวบรวมหลักฐานการเข้าเรียนของผู้เรียนแต่ละครั้ง การวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน พร้อมทั้งจัดทำรายงานผลการจบหลักสูตร เสนอผู้บริหาร สถานศึกษาเพื่ออนุมัติการจบหลักสูตร และออกหลักฐานการจบหลักสูตรตามแบบวุฒิบัตรผู้ผ่าน

9. เบิกค่าใช้จ่าย
สถานศึกษารวบรวมและจัดทำหลักฐานเบิกค่าใช้จ่าย โดยเบิกจ่ายให้เป็นไปตามที่ หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด ดังนี้
9.1 ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละไม่เกิน ๒๐๐ บาท
9.2 ค่าวัสดุ กรณีที่มีค่าวัสดุฝึกปฏิบัติ ให้เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจ าเป็น เหมาะสม ประหยัดเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ผู้เรียนตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป หลักสูตรไม่เกิน 30 ชั่วโมง กลุ่มละไม่เกิน 1,000 บาท
10. รายงานผลการดำนินงาน
ผู้รับผิดชอบจัดท ารายงานผลการดำเนินงานจัดการศึกษาต่อเนื่องรูปแบบ กลุ่มสนใจ เสนอต่อผู้บริหารสถานศึกษา บันทึกในระบบ DMIS และตามที่สำนักงาน กศน. แจ้ง
11. การนิเทศ ติดตามผล
11.1 นิเทศ ติดตามผลระหว่างจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยคณะกรรมการ นิเทศภายในสถานศึกษา และหรือคณะกรรมการสถานศึกษา ดำเนินการนิเทศ ติดตามกระบวนการ จัดการเรียนรู้ของวิทยากรให้เป็นไปตามแผนการจัดการเรียนรู้ ตามประเด็นการนิเทศ ติดตาม สรุป รายงานผลการนิเทศ ติดตามต่อผู้บริหารสถานศึกษา
11.2 นิเทศ ติดตามผลหลังเสร็จสิ้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยสถานศึกษา ดำเนินการนิเทศติดตามการนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปใช้ประโยชน์ของผู้จบหลักสูตร หลังเสร็จ สิ้นการเรียนภายในระยะเวลา 1 เดือน และสรุปรายงานผลการนิเทศ ติดตามต่อผู้บริหารสถานศึกษา

การจัดการศึกษาต่อเนื่อง
รูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ
1. สำรวจความต้องการ/ประชาสัมพันธ์/รับสมัคร
ครู กศน. ตำบล หรือผู้ที่สถานศึกษามอบหมายเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการ การสำรวจความต้องการและสนใจของกลุ่มเป้าหมาย ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เคาะประตูบ้าน/แจก แผ่นพับ เสียงตามสาย/ออกอากาศทางวิทยุ โทรทัศน์อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์/เฟสบุ๊ค เวทีชาวบ้าน รายงานการประชุม และอื่นๆ ตามบริบทของพื้นที่ หรือนำข้อมูลจากแผนจุลภาคของ กศน.ตำบล มาใช้โดยรับสมัครผู้ที่มีความต้องการสนใจด้านอาชีพในเรื่องเดียวกันตั้งแต่ 11 คนขึ้นไป และใช้ หลักสูตรในการจัดชั้นเรียนวิชาชีพตั้งแต่ 31 ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งต้องใช้แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ แบบสำรวจความต้องการการศึกษาต่อเนื่อง ใบสมัครผู้เรียนหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง
2. จัดหา/จัดทำหลักสูตร และจัดหาวิทยากร
2.1 การจัดหาหรือจัดทำหลักสูตร ดำเนินการได้ 2 วิธี คือ
2.1.1 จัดหาหลักสูตรที่มีอยู่แล้ว ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการสถานศึกษาพร้อมระบุจำนวนชั่วโมงในหลักสูตร และเสนอผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อ อนุมัติใช้หลักสูตร
2.1.2 กรณีที่ไม่มีหลักสูตรอยู่เดิม ให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตร ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน พร้อมระบุจำนวนชั่วโมงในหลักสูตร ทั้งนี้ต้องได้รับความ เห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา และเสนอผู้บริหารสถานศึกษาเพื่ออนุมัติใช้หลักสูตร ตามแบบฟอร์ม แบบเขียนหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง

2.2 จัดหาวิทยากรให้ตรงตามเนื้อหาหลักสูตร วิทยากรควรเป็นผู้ที่มีคุณวุฒิ หรือเกียรติบัตรรับรองโดยมีหลักฐานอื่นๆ ที่แสดงว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และทักษะ ในสาขาวิชา หรือหลักสูตรนั้น เป็นผู้ที่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน ทั้งนี้ผู้อ านวยการสถานศึกษาเป็น ผู้ออกค าสั่งตามแบบฟอร์มใบสมัครวิทยากร การจัดการศึกษาต่อเนื่อง
3. การจัดตั้งกลุ่ม/แต่งตั้งวิทยากร/จัดหาวัสดุอุปกรณ์
สถานศึกษาดำเนินการจัดตั้งกลุ่มชั้นเรียนวิชาชีพตามแบบฟอร์ม เสนอผู้บริหาร สถานศึกษาเพื่ออนุญาตจัดตั้งกลุ่ม เอกสารในการขออนุญาตประกอบด้วย
3.1 บันทึกขออนุญาตจัดตั้งกลุ่ม/เปิดสอนการศึกษาต่อเนื่อง และรายละเอียดความต้องการใช้วัสดุอุปกรณ์
3.2 ทะเบียนผู้เรียนการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
3.3 แผนที่สถานที่จัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง
4. การจัดการเรียนรู้/วัดและประเมินผล
4.1 วิทยากรจัดท าแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตร สถานศึกษา กำกับ ติดตามการจัดกระบวนการเรียนรู้ของวิทยากรให้เป็นไปตามแผนการจัดการเรียนรู้
4.2 วิทยากรและผู้เรียนต้องลงลายมือชื่อการปฏิบัติงานและการเข้าเรียน ตามลำดับ
4.3 วิทยากร วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และโดยใช้เครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของ หลักสูตร เช่น แบบทดสอบ แบบสังเกต เกณฑ์การให้คะแนน เป็นต้น

5. การจบหลักสูตรและออกหลักฐานการจบหลักสูตรแก่ผู้เรียน
วิิทยากร รวบรวมหลักฐานการเข้าเรียนการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ของ ผู้เรียน ให้ครู กศน.ตำบลเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษา เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติการจบหลักสูตรและออก หลักฐาน เช่น ใบสำาคัญผู้ผ่านการเรียน
6. การรายงานผลการดำเนินงาน
จัดทำรายงานผลการดำเนินงานจัดการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ ในระบบ DMIS
7. การเบิกค่าใช้จ่าย
การจัดการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ ให้ดำเนินการเบิกจ่าย ดังนี้
7.1 ค่าตอบแทนวิทยากร เบิกจ่ายชั่วโมงละ ไม่เกิน ๒๐๐ บาท
7.2 ค่าวัสดุฝึกวิชาชีพ ผู้เรียนตั้งแต่ 11 คนขึ้นไป หลักสูตร 31 ชั่วโมงขึ้นไป จ่ายเป็นค่าวัสดุไม่เกิน 5,000 บาท และหากรายวิชาชีพใดมีความจำาเป็นต้องใช้ค่าวัสดุเกินกว่า ที่ก าหนด ให้ขอความเห็นชอบต่อผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด โดยผ่านคณะกรรมการที่สำนักงาน กศน.จังหวัด แต่งตั้งเพื่อพิจารณาตามความความเหมาะสมและสภาพจริงภายใน วงเงินงบประมาณและเป้าหมายที่ได้รับจัดสรร

8. การนิเทศ/ติดตามผล
8.1 การนิเทศ ติดตามผลระหว่างการจัดกระบวนการเรียนรู้
8.2 การนิเทศ ติดตามการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของ หลักสูตร สถานศึกษามีหน้าที่ติดตามผลการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรหลัง การจัดกระบวนการเรียนรู้ภายใน 1 เดือน ตามแบบติดตามผู้เรียนหลังจบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง
6. การรายงานผลการดำเนินงาน
จัดทำรายงานผลการดำเนินงานจัดการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ ในระบบ DMIS
7. การเบิกค่าใช้จ่าย
การจัดการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ ให้ดำเนินการเบิกจ่าย ดังนี้
7.1 ค่าตอบแทนวิทยากร เบิกจ่ายชั่วโมงละ ไม่เกิน ๒๐๐ บาท
7.2 ค่าวัสดุฝึกวิชาชีพ ผู้เรียนตั้งแต่ 11 คนขึ้นไป หลักสูตร 31 ชั่วโมงขึ้นไป จ่ายเป็นค่าวัสดุไม่เกิน 5,000 บาท และหากรายวิชาชีพใดมีความจำาเป็นต้องใช้ค่าวัสดุเกินกว่า ที่ก าหนด ให้ขอความเห็นชอบต่อผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด โดยผ่านคณะกรรมการที่สำนักงาน กศน.จังหวัด แต่งตั้งเพื่อพิจารณาตามความความเหมาะสมและสภาพจริงภายใน วงเงินงบประมาณและเป้าหมายที่ได้รับจัดสรร

การจัดการศึกษาต่อเนื่อง
รูปแบบการฝึกอบรมประชาชน
การจัดกิจกรรมฝึกอบรมประชาชน เป็นกระบวนการที่จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมี ความรู้ มีทักษะและเจตคติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังนั้นการจัดกิจกรรมฝึกอบรมประชาชนจึงเป็นหนึ่งใน การจัดการศึกษาต่อเนื่อง ที่สถานศึกษาดำเนินการให้กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชนทั่วไป โดยมี รูปแบบการจัดฝึกอบรมประชาชน ซึ่งดำเนินการได้ 2 ภารกิจ คือ ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ ของสถานศึกษา และดำเนินการตามนโยบายหรือภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานภาครัฐที่เป็น เรื่องเร่งด่วน
1. การสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการ
ของประชาชนและกลุ่มเป้าหมาย
1.1 สถานศึกษาสามารถดำเนินการได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
1.2 การจัดเวทีประชาคม
1.3 การใช้ข้อมูลสารสนเทศในแผนจุลภาค (Micro Planning) แผนชุมชนข้อมูล จปฐ.
1.4 การขับเคลื่อนนโยบาย จุดเน้น ยุทธศาสตร์และความจำเป็นเร่งด่วนโดย นำข้อมูลมาวิเคราะห์พร้อมจัดลำดับความต้องการ และความจำเป็น
2.. จัดหาหรือจัดทำหลักสูตร และจัดหาวิทยากร
พร้อมออกแบบกิจกรรมการ ฝึกอบรม
2.1 การจัดหาหรือจัดทำหลักสูตร ดำเนินการได้ 2 วิธี คือ
2.1.1 จัดหาหลักสูตรที่มีอยู่แล้ว ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการสถานศึกษา และเสนอผู้บริหารสถานศึกษาเพื่ออนุมัติใช้หลักสูตร
2.1.2 กรณีที่ไม่มีหลักสูตรอยู่เดิมให้สถานศึกษา จัดทำหลักสูตรที่ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา และเสนอผู้บริหารสถานศึกษาเพื่ออนุมัติใช้หลักสูตร ซึ่งต้องใช้แบบฟอร์มเขียนหลักสูตรการศึกษา ต่อเนื่อง

2.2 จัดหาวิทยากรให้ตรงตามความต้องการของหลักสูตร โดยวิทยากรต้องเป็น ผู้ที่มีคุณวุฒิหรือเกียรติบัตรรับรองหรือหลักฐานอื่นๆที่แสดงว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ ในสาขาวิชาหรือหลักสูตรนั้น หรือเป็นผู้ที่มีความรู้ความช านาญ ประสบการณ์ในสาขาวิชาหรือหลักสูตร นั้น และเป็น ผู้ที่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนทั้งนี้ โดยให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นผู้ออกคำสั่ง ซึ่งใช้แบบฟอร์ม ใบสมัครวิทยากรการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
2.3 ออกแบบกิจกรรมการฝึกอบรม ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งต้อง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร/โครงการให้สถานศึกษาออกแบบกิจกรรมโดยเปิดโอกาสให้ วิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมซึ่งมีข้อควรพิจารณา ดังนี้
2.3.1 กิจกรรมที่ใช้ในการฝึกอบรมต้องส่งเสริมให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ หลักสูตร/โครงการ
2.3.2 กิจกรรมที่ใช้ในการฝึกอบรมมีความเหมาะสมกับ เพศ อายุ อาชีพ พื้นฐานความรู้และทักษะของกลุ่มเป้าหมาย
2.3.3 กิจกรรมที่ใช้ในการฝึกอบรม ช่วยทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้และเข้าใจ เนื้อหาได้ง่ายขึ้น สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเข้ารับการอบรม
2.3.4 ในการออกแบบกิจกรรมการฝึกอบรมที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ได้เหมาะสมเพียงพอ และประมาณการค่าสมนาคุณค่าตอบแทน วิทยากรได้ถูกต้องแม่นยำได้โดยมีหลักเกณฑ์การจ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลัง ดังนี้
- ชั่วโมงการฝึกอบรมที่มีลักษณะเป็นการบรรยายให้จ่ายได้ไม่เกิน 1 คน
- ชั่วโมงการฝึกอบรมที่มีลักษณะอภิปรายเป็นคณะจ่ายได้ไม่เกิน 5 คน
- ชั่วโมงการฝึกอบรมที่มีลักษณะเป็นการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ แบ่งกลุ่มอภิปรายหรือ แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมจ่ายได้ไม่เกินกลุ่มละ 2 คน

3. เขียนโครงการเสนออนุมัต
สถานศึกษาเขียนโครงการกำหนดรายละเอียดเสนอขออนุมัติตามแบบฟอร์ม และขั้นตอนการจัดอบรมประชาชนพร้อมรายละเอียดการใช้งบประมาณให้คำนึงถึงความสอดคล้อง กับหลักสูตร ระยะเวลา และผู้เข้าอบรมตามหลักสูตร มีเอกสารที่เกี่ยวข้องได้แก่ แบบเขียนโครงการ ฝึกอบรม ควรกำหนดเนื้อหาการอบรมจำนวน 1-3 เรื่อง ซึ่งในแต่ละเรื่องมีสาระสำคัญพอสังเขป
4. เตรียมความพร้อมก่อนจัดกิจกรรมการฝึกอบรม
การเตรียมความพร้อมก่อนจัดกิจกรรมการฝึกอบรมให้ดำเนินการ ดังนี้
บันทึกขออนุมัติดำเนินการจัดโครงการฝึกอบรมประชาชน คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฝึกอบรมประชาชนหรือ หนังสือเชิญวิทยากร เตรียมสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ และสื่อประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ ประสาน กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมและยืมเงินเพื่อใช้จ่ายในการดำเนินงาน
5. การจัดกิจกรรมการฝึกอบรม
การดำเนินการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมตามโครงการให้เป็นไปตามกำหนดเวลาที่ วางแผนและวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยใช้สื่ออุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสถานที่ และกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ บัญชีลงเวลาผู้เข้ารับการฝึกอบรม
6. การวัดผลและประเมินผล
6.1 วิทยากรดำเนินการวัดและประเมินผล ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงการและใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น แบบทดสอบหรือแบบสังเกต เกณฑ์การให้คะแนน ชิ้นงาน ทักษะ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรอาชีพนั้นๆ
6.2 สถานศึกษาแต่งตั้งคณะทำงาน กำกับ ติดตามแบบประเมินความพึงพอใจ

7. การจบหลักสูตรและออกหลักฐานการจบหลักสูตร
แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
คณะทำงานดำเนินการ รวบรวมหลักฐานการเข้าอบรม การวัดและประเมินผล ผู้ที่ผ่านเกณฑ์เป็นผู้จบหลักสูตรตามกำหนด และเสนอเจ้าหน้าที่ทะเบียนออกหลักฐานการจบหลักสูตร ตามแบบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แบบวุฒิบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรม
8. การรายงานผลการดำเนินงาน
รายงานผลการดำเนินงานแก่สถานศึกษาใช้แบบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น แบบรายงานผลการจัดโครงการฝึกอบรมประชาชน (แบบสรุปโครงการตามที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นให้ ครอบคลุมการตอบโจทย์ทั้งวัตถุประสงค์ เป้าหมายเชิงปริมาณและคุณภาพ พร้อมการต่อ ยอดต่าง ๆ
9. การเบิกค่าใช้จ่าย
จัดทำหลักฐานเบิกค่าใช้จ่ายโดยเบิกจ่ายตามหนังสือ ดังนี้
9.1 หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๐๖.๔/๐๖๖๐๖ เรื่อง ขออนุมัติเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม ลงวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
9.2 หนังสือ สำนักงาน กศน. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0201.04/8021 เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายการจัดกิจกรรมฝึกอบรมประชาชนของสถานศึกษา ส านักงาน กศน. พ.ศ.2561 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2561
10. ติดตามผลการจัดอบรมโครงการฯ
การติดตามผลการจัดอบรมประชาชนในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์เป็นไป ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรการจัดกิจกรรมอบรมประชาชนโดยอาจใช้แบบประเมินความพึงพอใจ
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย: แนวทางการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561): พ.ศ. 2561 : กลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการ : กรุงเทพ