top of page
2630982.jpg

ประมวลภาพงานกฐินสามัคคี ประจำปี ๒๕๖๔

ทอดถวายวัดหัวเมือง ตำบลหัวเมือง

อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

๒๙ - ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๔

สไลด์6.PNG

กำหนดการ (หากมีการเปลี่ยนแปลง
จะขอแจ้งทางเว็บไซต์นี้)

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2564 
- 09.09 น. ตั้งองค์กฐิน ที่บ้านเลขที่ 59 หมู่ที่ 1
   ตำบลหัวเมือง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

- 11.00 น. ถวายภัตตาหารเพล (บ้านเจ้าภาพ)
- 12.00 น. ร่วมรับประทานอาหาร


วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2564

- ถวายภัตตาหารเช้า-เพล (วัดบ้านหัวเมือง)
- เคลื่อนองค์กฐินไปตั้งรวมที่วัดบ้านหัวเมือง
 

วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2564
- 07.39 น. ถวายภัตตาหารเช้า (วัดบ้านหัวเมือง)

- 09.09 น. ทอดกฐิน

         คำปรารภ

         บุตร - ธิดา ของคุณพ่อสัมฤทธิ์ - คุณแม่เชื่อมจิตต์  ทองเข็ม ได้รับฉันทานุญาตจากคณะกรรมการวัด คณะกรรมการหมู่บ้าน ให้เป็นเจ้าภาพหลักในการทอดถวายกฐินสามัคคี ประจำปี พ.ศ. 2564 ณ วัดบ้านหัวเมือง ตำบลหัวเมือง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ยังความปลื้มปิติยินดี และถือเป็นเกียรติอย่างสูงยิ่งแก่วงศ์ตระกูล

         ในกาลนี้ คณะเจ้าภาพส่วนบุตร - ธิดา ของคุณพ่อสัมฤทธิ์ - คุณแม่เชื่อมจิตต์  ทองเข็ม กราบขออภัย มายังท่านที่เคารพนับถือ และญาติสนิท มิตรสหาย ทุกท่าน ที่ไม่ได้มาเรียนเชิญท่าน หรือส่งบัตรเชิญถึงท่าน ด้วยตนเอง จากเหตุสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จึงขอใช้โอกาสนี้กราบเรียน-เรียนเชิญ ทุกท่านร่วมอนุโมทนาบุญในครั้งนี้  โดยเจ้าภาพส่วนบุตร - ธิดา ของคุณพ่อสัมฤทธิ์ - คุณแม่เชื่อมจิตต์  ทองเข็ม ขอไม่รับซองช่วยงาน  จตุปัจจัยที่ท่านมอบให้จะนำไปต่อยอดเงินกองกฐินเพื่อทำนุบำรุงบวรพุทธศาสนาต่อไป

         เจ้าภาพฯ มีความยินดีที่จะรับรองท่านที่มาร่วมงาน ตามมาตรการป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา อย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงระยะห่าง การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ และมอบข้าวห่อ เป็นต้น จึงกราบขออภัย-ขออภัย มา ณ โอกาสนี้

         คณะเจ้าภาพ

         ส่วนบุตร - ธิดา ของ
         คุณพ่อสัมฤธิ์ - คุณแม่เชื่อมจิตต์  ทองเข็ม

         นายอภิรักษ์ - นางยุพยงค์  พราวศรี
         นายไพโรจน์ - นางเรืองอุไร  สืบสายลา
         นายสุดใจ - นางศิริลักษณ์  ผลสุข
         นายบรรลุ - นางบุญสร้าง  ทองเข็ม

         ผศ.ดร.ศักดา - นางอรอินทร์  ขำคม

         นายสุรเดช - นางบุษกร  ทองเข็ม

         นายพัฒนา - นางยุภาพร  สุวรรณหาญ

         พร้อมบุตรหลาน ทุกคน

เทศน์แหล่อีสาน อานิสงส์การทำบุญกฐิน

พระปลัดชัยนรินทร์ ชยาภิวฑฺฒนเมธี

เทศน์แหล่ อานิสงส์บุญกฐิน (Official Lyrics HD)
พระนันทะนากร สุธรรมะโกสาร วัดป่าลาวพุธะธรรม. รัถ นิวยอร์ก
นิมนต์แดงธรรม 1585 752-5853
กดติดตามช่อง: https://www.youtube.com/channel/UC3i1...

เพลงแหล่ประวัติ การทอดกฐิน (อานิสงส์)

ตอน 1 2 3 : ศิลปิน เชิดชัย วัชราภรณ์

อาจารย์ยอด

ทอดกฐิน [น่ารู้]

รวมกลอนลำบุญกฐิน
ฟังลำซอดแจ้งกับคนอีสานชาแนล
ขอขอบคุณ
    : บ่าวทูร สารคาม (โพสต์ลิงค์)
                       : คุณอรชร ศรีพิทักษ์ (แชร์ลิงค์)

"อานิสงส์กฐิน"
: ลำล่องยาว โดย หมอลำกฤษณา บุญแสน

การทอดกฐิน

         เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง

         คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมือนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)

ผ้ากฐิน 

         โดยความหมายก็คือผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึง นิยมเรียกกันจนปัจจุบันนี้

การทอดกฐิน 

         คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น

เขตกำหนดทอดกฐิน
         การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน

แต่มีข้อยกเว้นพิเศษว่า ถ้าทายกผู้จะทอดกฐินนั้น มีกิจจำเป็น เช่นจะต้องไปในทัพ ไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตามกำหนดนั้นได้ จะทอดกฐินก่อนกำหนดดังกล่าวแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอนุญาตให้ภิกษุรับไว้ก่อนได้

เรื่องกฐินในครั้งพุทธกาล

         การที่มีประเพณีทอดกฐินมีเรื่องว่า ในครั้งพุทธกาล พระภิกษุชาวปาไถยรัฐ (ปาวา) ผู้ทรงธุดงค์ จำนวน 30 รูป เดินทางไกลไปไม่ทันเข้าพรรษา เหลือทางอีกหกโยชน์จะถึงนครสาวัตถี จึงตกลงพักจำพรรษาที่เมืองสาเกตตลอดไตรมาส เมื่อออกพรรษาจึงเดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดา ณ เชตวันมหาวิหารนครสาวัตถี ภิกษุเหล่านั้นมีจีวรเก่า เปื้อนโคลน และเปียกชุ่มด้วยน้ำฝน ได้รับความลำบากตรากตรำมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงถือเป็นมูลเหตุ ทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุที่จำพรรษาครบสามเดือนกรานกฐินได้ และให้ได้รับอานิสงส์ ห้าประการคือ
         1) เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
         2) ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบ
         3) ฉันคณะโภชน์ได้
         4) ทรงอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา
         5) จีวรอันเกิดขึ้นนั้นจะได้แก่พวกเธอ

         และได้ขยายเขตอานิสงส์ห้าอีกสี่เดือน นับแต่กรานกฐินแล้วจนถึงวันกฐินเดาะเรียกว่า มาติกาแปด คือการกำหนดวันสิ้นสุดที่จะได้จีวร คือ กำหนดด้วยหลีกไป กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ กำหนดด้วยตกลงใจ กำหนดด้วยผ้าเสียหาย กำหนดด้วยได้ยินข่าว กำหนดด้วยสิ้นหวัง กำหนดด้วยล่วงเขต กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน

ฉะนั้น เมื่อครบวันกำหนดกฐินเดาะแล้ว ภิกษุก็หมดสิทธิ์ต้องรักษาวินัยต่อไป พระสงฆ์จึงรับผ้ากฐินหลังออกพรรษาไปแล้ว หนึ่งเดือนได้ จึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้

การถวายกฐิน

         กฐินของประชาชน หรือ กฐินสามัคคี หรือในวัดบางวัดนิยมถวายกันที่ศาลาการเปรียญ หรือวิหารสำหรับทำบุญ แล้วเจ้าหน้าที่จึงนำผ้ากฐินที่ถวายแล้วไปถวายพระสงฆ์ ทำพิธีกรานกฐินในโบสถ์เฉพาะพระสงฆ์อีกทีหนึ่ง

การทำพิธีกฐินัตการกิจของพระสงฆ์ เริ่มจากการกล่าวคำขอความเห็นที่เรียกว่า อปโลกน์ และการสวดญัตติทุติยกรรม คือการยินยอมยกให้ ต่อจากนั้นพระสงฆ์รูปที่ได้รับความยินยอม นำผ้าไตรไปครองเสร็จแล้วขึ้นนั่งยังอาสนเดิม ประชาชนผู้ถวายพระกฐินทาน ทายกทายิกา และผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ณ ที่นั้น เข้าประเคนสิ่งของอันเป็นบริวารขององค์กฐินตามลำดับจนเสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นจับพัด ประธานสงฆ์เริ่มสวดนำด้วยคาถาอนุโมทนา ประธานหรือเจ้าภาพ กรวดน้ำ และรับพรจนจบ เป็นอันเสร็จพิธี

อนิสงส์กฐินสำหรับผู้ทอด

         โดยทั่วไปผู้เขียนเองและแม้ผู้รู้บางท่านก็ยังไม่เคยพบในพระบาลีที่ระบุไว้โดยตรง แต่ว่าการทอดกฐินเป็นกาลทาน ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว วันหนึ่งทำได้ครั้งเดียวในปีหนึ่ง ๆ ต้องทำภายในกำหนดเวลา และผู้ทอดก็ต้องตระเตรียมจัดทำเป็นงานใหญ่ ต้องมีผู้ช่วยเหลือหลายคน จึงนิยมกันว่าเป็นพิธีบุญที่อานิสงส์แรง น่าคิดอีกทางหนึ่งว่า พิธีเช่นนี้ได้ทั้งโภคสมบัติ เพราะเราเองบริจาค ได้ทั้งบริวารสมบัติเพราะได้บอกบุญแก่ญาติมิตรให้มาร่วมการกุศล กาลทานเช่นนี้ เรียกว่า ทานทางพระวินัย

1. ได้สงเคราะห์พระสงฆ์ ให้ได้รับอานิสงค์ตามพุทธบัญญัติ
2. ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่
3. ได้ร่วมพลังสามัคคีสร้างคุณงามความดี และสืบทอดประเพณีกฐินมิให้เสื่อมสลาย
4. ได้รับผลานิสงค์มาก เพราะเป็นการถวายทานแก่หมู่สงฆ์ที่เข้าลักษณะเป็นสังฆทาน
4. ได้รับผลานิสงค์มาก เพราะเป็นการถวายทานแก่หมู่สงฆ์ที่เข้าลักษณะเป็นสังฆทาน
6. ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนช่วยรักษาศาสนสถาน และศาสนวัตถุ ให้ยั่งยืน
คำถวายกฐิน

คำถวายแบบมหานิกาย

อิมํ สปริวารํ กฐินจีวรทสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม (กล่าวสามหน)
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน พร้อมกับของบริวารนี้แก่พระสงฆ์ (กล่าวสามหน)

คำกล่าวแบบธรรมยุต

อิมํ มยํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ ปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ฑีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับของบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐิน พร้อมกับของบริวารของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้งรับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ

รายการเครื่องกฐิน (ชุดพื้นฐาน)

ชุดใหญ่
1. ไตรครององค์กฐินป่านโทเร 1 ไตร (ขาดไม่ได้)
2. ไตรครองป่านโทเรถวายคู่สวด 2 ไตร
3. บาตรครบชุด 1 ชุด 
(ขาดไม่ได้)
4. ตาลปัตร 1 เล่ม (ขาดไม่ได้)
5. ที่ตั้งตาลปัตรไม้ 1 อัน (ขาดไม่ได้)
6. ถุงย่าม 1 ใบ (ขาดไม่ได้)
7. หมอนอิงสี่เหลี่ยม 1 ใบ
8. มุ้ง 1 หลัง
9. ที่นอนพระ 1 ผืน
10. ผ้าห่มนอน 1 ผืน
11. ผ้าเช็ดตัว 1 ผืน
12. เสื่อ 1 ผืน
13. ร่ม 1 คัน
14. รองเท้า 1 คู่
15. ปิ่นโต 1 เถา
16. ช้อนส้อมและจานข้าว 1 ชุด
17. กระโถน 1 ใบ
18. กาต้มน้ำ 1 ใบ
19. กานวมพร้อมถ้วยชา 1 ชุด
20. ตะเกียง 1 ดวง
21. ไม้กวาด 1 อัน 
(ขาดไม่ได้)
22. เครื่องมือโยธา 1 ชุด
23. พานแว่นฟ้า พร้อมครอบไตร 1 ชุด 
(ขาดไม่ได้)
24. เทียนปาฎิโมกข์ 1 ห่อ (ขาดไม่ได้)
25. สัปทน 1 คัน (ขาดไม่ได้)
26. ผ้าห่มพระประธาน ยาว 5 เมตร 1 ผืน
27. อาสนะ 1 ที่
28. สายสิญจน์ยาว 1,000 เมตร 1 ม้วน
29. ธงจระเข้-มัจฉา - เต่า-ตะขาบ 1 ชุด 
(ขาดไม่ได้)
30. ธงชาติ ธงธรรมจักร 1 คู่
31. คัมภีร์อานิสงส์กฐินพร้อมผ้าห่อ 1 ชุด

bottom of page