
Banlu
Thongkhem


กศน. อำเภอเมืองยโสธร
สำนักงาน กศน. จังหวัดยโสธร
การจัดกิจกรรมตามโครงการ
การจัดการศึกษาต่อเนื่อง: รูปแบบวิชาชีพระยะสั้น
หลักสูตร : การทำหน้ากากอนามัยผ้า 6 ชั่วโมง







ความเป็นมาของโครงการ
สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ระรอกใหม่ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2564 สำนักงาน กศน. มีนโยบายให้สถานศึกษาที่ดำเนินการจัดการศึกษาในพื้นที่ จัดกิจกรรมหลักสูตรการเรียนการสอนต่อเนื่อง (หลักสูตรระยะสั้น) เพื่อส่งเสริมความรู้ในลักษณะต่างๆ แก่ประชาชนให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ อย่างปลอดภัย
กศน. อำเภอเมืองยโสธร ได้จัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่นการผลิตสื่อการเรียนรู้ "สู้ COVID-19 ไปด้วยกัน" เผยแพร่ในศูนย์การเรียนชุมชน, Website สถานศึกษา, และทางสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ จัดการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบการอบรมประชาชนหลักสูตร 6 ชั่วโมง ให้กับประชาชนทั่วไป ปูพรมในพื้นที่ทุกตำบลของอำเภอเมืองยโสธร
"การทำหน้ากากอนามัย" เป็นอีกหนึ่งกิจกรรม ที่ กศน. อำเภอเมืองยโสธร กำลังดำเนินการในขณะนี้ (9-11 มิถุนายน 2564)

หลักสูตร-วัตถุประสงค์-กลุ่มเป้าหมาย
: จัดกิจกรรมในรูปแบบ "กลุ่มสนใจ 6 ชั่วโมง" เพื่อแนะนำวิธีการทำหน้ากากอนามัยแบบผ้าใช้เองแบบง่ายๆ และเป็นทางเลือกสำหรับประชาชนในการแก้ปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย ตามหลักสูตรที่ได้รับคำแนะนำของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
: กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการคือ ประชาชนในพื้นที่ตำบลต่างๆ ในอำเภอเมืองยโสธร จำนวน 18 ตำบล/กลุ่ม จำนวน 146 คน
กลุ่มที่ 1 : กศน. ตำบลขั้นใดใหญ่
วันที่ : 9-10 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 8 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : กลุ่มสตรีบ้านโพนขวาว หมู่ 6 ตำบลขั้นไดใหญ่ อำเภอเมืองยโสธร
วิทยากร : นางนาตยา พันธมา
ผู้รับผิดชอบ : นายพิชาณัฐ วีระสอน
กลุ่มที่ 2 : กศน. ตำบลขุมเงิน
วันที่ : 9-10 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 8 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : ศาลากลางบ้านสะแนน หมู่ 2 ตำบลขุมเงิน อำเภอเมืองยโสธร
วิทยากร : นางสาวหนูเพียร วาจาดี
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวภาวดี ศิริสาร
กลุ่มที่ 3 : กศน. ตำบลเขื่องคำ
วันที่ : 9-10 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 8 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : บ้านท่าเยี่ยมหมู่ 6 ตำบลเขื่องคำ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
วิทยากร : นางราตรี ศรีวิเศษ
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวสุวิมล ไชยเลิศ
กลุ่มที่ 4 : กศน. ตำบลค้อเหนือ
วันที่ : 9-10 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 8 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : บ้านเลขที่ 159 หมู่ 4 ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
วิทยากร : นางอภันตรี ศรีชมภู
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวชนกนันท์ จันทร์แก้ว
กลุ่มที่ 5 : กศน. ตำบลเดิด
วันที่ : 9-10 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 8 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : วัดบ้านน้ำโผ่ หมู่ 15 ตำบลเดิด อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
วิทยากร : นางปรานี เวชกามา
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวพัชราภรณ์ คำมั่น
กลุ่มที่ 6 : กศน. ตำบลตาดทอง
วันที่ : 9-10 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 10 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : บ้านเลขที่ 37 บ้านกิโล3 หมู่ 10 ตำบลตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
วิทยากร : นางสาวสมปอง ทองมณี
ผู้รับผิดชอบ : นางวาสนา เดชพันธ์ุ
กลุ่มที่ 7 : กศน. ตำบลทุ่งนางโอก
วันที่ : 9-10 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 8 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : บ้านศาลากลางบ้านหนองเป้า หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งนางโอก อำเภอเมืองยโสธร
วิทยากร : นางสาวไพฑูรย์ ทองโสม
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวธัญญพัทธ์ อุปชัย
กลุ่มที่ 8 : กศน. ตำบลนาสะไมย์
วันที่ : 9-10 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 8 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : บ้านเลขที่ 163 บ้านนาสะไมย์ หมู่ 11 ตำบลนาสะไมย์ อำเภอเมืองยโสธร
วิทยากร : นางมนูญ กาหลิบ
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวนิสากร พันธ์พิพัฒน์
กลุ่มที่ 9 : กศน. ตำบลน้ำคำน้อย
วันที่ : 9-10 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 8 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : ศาลากลางบ้านห้องพอก ตำบลน้ำคำน้อย อำเภอเมืองยโสธร
วิทยากร : นางอมรา แสงสว่าง
ผู้รับผิดชอบ : นายนิพันธ์พงษ์ จันทร์ทรง
กลุ่มที่ 10 : กศน. ตำบลสำราญ
วันที่ : 9-10 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 8 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : กศน. ตำบลำบลสำราญ บ้านบาก หมู่ 11 ตำบลสำราญ อำเภอเมืองยโสธร
วิทยากร : นางแพง คำหอม
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวภัทรวรรณ บุรีศรี
กลุ่มที่ 11 : กศน. ตำบลสิงห์
วันที่ : 9-10 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 8 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : ศาลากลางบ้านหนองขอน ตำบลสิงห์ อำเภอเมืองยโสธร
วิทยากร : นางสาวสุบรรณ์ ชูรัตน์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวปิยะนันท์ บุรีศรี
กลุ่มที่ 12 : กศน. ตำบลหนองคู
วันที่ : 9-10 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 8 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : บ้านเลขที่ 240 หมู่ 2 ตำบลหนองคู อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
วิทยากร : นางบรรจง พลไชย
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวทิชาพร แผลงงาม
กลุ่มที่ 13 : กศน. ตำบลหนองหิน
วันที่ : 9-10 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 8 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : ศาลาประชาคมบ้านโนนอุดม หมู่ที่ 8 ตำบลหนองหิน อำเภอเมืองยโสธร
วิทยากร : นางจันทร์ปรียา เวฬุวนารักษ์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวสุวรรณี อุตอามาตย์
กลุ่มที่ 14 : กศน. ตำบลหนองเรือ
วันที่ : 10-11 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 8 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : บ้านเลขที่ 80 หมู่ 4 ตำบลหนองเรือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
วิทยากร : นางรุ่งฤดี สีหนาจ
ผู้รับผิดชอบ : นายสิทธิพงษ์ ไชยมาตย์
กลุ่มที่ 15 : กศน. ตำบลทุ่งแต้
วันที่ : 10-11 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 8 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : กศน. ตำบลทุ่งแต้ หมู่ 3 ตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
วิทยากร : นางสุมาลี กุบแก้ว
ผู้รับผิดชอบ : นายไพรัชช์ เรืองบุตร
กลุ่มที่ 16 : กศน. ตำบลดู่ทุง
วันที่ : 10-11 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 8 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : บ้านเลขที่ 20 หมู่ 2 ตำบลดู่ทุ่ง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
วิทยากร : นางสาวจำเนียร ศักดิ์ศรี
ผู้รับผิดชอบ : นางสุธิดา ลีลา
กลุ่มที่ 17 : กศน. ตำบลในเมือง
วันที่ : 10-11 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 8 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : บ้านเลขที่ 199 ถนนห้าธันวามหาราช ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
วิทยากร : นางนฤมล สมหวัง
ผู้รับผิดชอบ : นายภัคดี คุณุรัตน์
กลุ่มที่ 18 : กศน. ตำบลหนองเป็ด
วันที่ : 10-11 มิถุนายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย : 8 คน
สถานที่จัดกิจกรรม : ศาลากลางบ้านหนองเป็ด หมู่ที่ 4 ตำบลหนองเป็ด อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
วิทยากร : นางรุ่งนภา โสภาบุตร
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวอุทุมพร ยาวะโนภาส
1. ข้อมูลผู้เข้าร่วมกิจกรรม-จบหลักสูตร
1.1 จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม-จบหลักสูตร 138 คน
จำแนกตามเพศ
- ชาย 6 คน
- หญิง 132 คน
1.2 จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม-จบหลักสูตร 138 คน
จำแนกตามกลุ่มอายุ
- ต่ำกว่า 19 ปี 4 คน
- อายุ 20-59 ปี 116 คน
- 60 ปีขื้นไป 18 คน
1.3 จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม-จบหลักสูตร 138 คน
จำแนกตามอาชีพ
- เกษตรกร 127
- รับจ้าง 10
- ค้าขาย 1
- รับราชการ -
- อื่น ๆ -
2. ผลการประเมินระดับความพึงพอใจ
การประเมินระดับความพึงพอใจกำหนดไว้ 4 ด้าน
แต่ละด้านกำหนดระดับคะแนนไว้ระหว่าง 1 - 5 ดังนี้
- ระดับคะแนน 1.00-1.49 ค่าระดับคะแนน = น้อยที่สุด
- ระดับคะแนน 1.50-2.49 ค่าระดับคะแนน = น้อย
- ระดับคะแนน 2.50-3.49 ค่าระดับคะแนน = ปานกลาง
- ระดับคะแนน 3.50-4.49 ค่าระดับคะแนน = มาก
- ระดับคะแนน 4.50-5.00 ค่าระดับคะแนน = มากที่สุด
2.1 ความพึงพอใจด้านเนื้อหา ได้ระดับคะแนน 4.74 (มากที่สุด)
1) เนื้อหาตรงตามความต้องการ
= 4.65
2) เนื้อหาเพียงพอต่อความต้องการ
= 4.59
3) เนื้อหาปัจจุบันทันสมัย
= 4.88
4) เนื้อหามีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
= 4.82
2.2 ความพึงพอใจด้านกระบวนการจัดกิจกรรมการอบรม ได้ระดับคะแนน 4.64 (มากที่สุด)
1) การเตรียมความพร้อมก่อนอบรม
= 4.65
2) การออกแบบกิจกรรมเหมาะสมกับวัตถุประสงค์
= 4.71
3) การจัดกิจกรรมเหมาะสมกับเวลา
= 4.41
4) การจัดกิจกรรมเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
= 4.65
5) วิธีการวัดผล/ประเมินผลเหมาะสมกับวัตถุประสงค์
= 4.76
2.3 ความพึงพอใจต่อวิทยากร ได้ระดับคะแนน 4.75 (มากที่สุด)
1) วิทยากรมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่ถ่ายทอด
= 4.82
2) วิทยากรมีเทคนิคการถ่ายทอดใช้สื่อเหมาะสม
= 4.71
3) วิทยากรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมและซักถาม
= 4.71
2.4 ความพึงพอใจด้านการอำนวยความสะดวก ได้ระดับคะแนน 4.67 (มากที่สุด)
1) สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก
= 4.65
2) การสื่อสาร การสร้างบรรยากาศเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
= 4.65
3) การบริการ การช่วยเหลือและการแก้ปัญหา
= 4.71
:: สรุปผลการประเมินระดับความพึงพอใจ ได้ระดับคะแนน 4.70 ค่ารับคะแนน =มากที่สุด
แบบประเมินความพึงพอใจ
3. การติดตามและประเมินการนำไปใช้ประโยชน์
ประเด็นการนำไปใช้ประโยชน์จะขึ้นอยู่กับลักษณะหลักสูตรที่จัด ประกอบด้วย
3.1 ด้านพัฒนาอาชีพเช่น เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย สร้างอาชีพใหม่ ต้องการได้รับการพัฒนา และ
ต่อยอดอาชีพเดิมทำเป็นอาชีพเสริม
3.2 ด้านพัฒนาทักษะชีวิต เช่น พัฒนาสุขภาพกาย พัฒนาสุขภาพจิต พัฒนาการคิดวิเคราะห์
3.3 ด้านพัฒนาสังคมและชุมชนเช่น ร่วมพัฒนาชุมชนแก้ปัญหาภัยแล้ง ด้านการประหยัดพลังงาน
ซึ่งการจัดกิจกรรมตามโครงการนี้ กศน. อำเภอเมืองยโสธร ได้ติดตามใน 4 ประเด็นและได้ผลสรุปดังนี้
1) ต้องการมีรายได้ คิดเป็นร้อยละ 30.12
2) ต้องการมีอาชีพในภาวะโรคระบาด COVID-19 คิดเป็นร้อยละ 22.09
3) ต้องการได้รับการพัฒนา คุณภาพชีวิต คิดเป็นร้อยละ 23.68
4) ต้องการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ คิดเป็นร้อยละ 24.12
แบบติดตามผู้เรียนหลังจบหลักสูตร


