top of page
แองเคอ 2

เรื่องราวดีๆ จาก

คลิกที่ Green Civil เพื่อชมบน FaceBook

เจองูพวกนี้อย่าเพิ่งตีน้อง !

ขึ้นชื่อว่า ‘งู’ ก็น่ากลัวแล้ว เพราะหลายคนมีความเชื่อว่า งู = สัตว์มีพิษ จนทำให้น้องต้องโดนตีตายไปหลายต่อหลายตัว แต่รู้ไหมว่าจริง ๆ แล้ว งูหลายตัวที่เราเจอนั้นไม่มีพิษ แถมบางตัวยังช่วยกินงูพิษเสียอีกด้วยนะ !

วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับ 8 งูไทยไม่มีพิษ ที่ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นงูพิษ จนถูกตีตายฟรี ๆ ทั้งที่ช่วยระบบนิเวศไว้แท้ ๆ !


อ้างอิง : https://www.zoothailand.org/animal_more.php , https://www.thaich8.com/news_detail/9079, https://www.thairath.co.th/news/society/977530
 

สามารถกดติดตาม และอ่านคอนเทนต์ของเราได้อีกทาง IG : www.Instagram.com/greencivil.gc

Twitter : https://Twitter.com/greencivil_gc

งูสิงตาโต 
มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็น ‘งูเห่า’ อยู่บ่อยๆเนื่องจากมีเกล็ดเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีเขียวมะกอก บริเวณโคนถึงจรดปลายหางจะมีปลายเกล็ดเป็นสีดำ และมีตาที่กลมโต ทำให้มองผิวเผินแล้วคล้ายกับงูเห่า
.
อีกทั้งเวลาขู่ยังชอบชูคอ และขู่ร้อง ฟ่อๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์การขู่แบบงูเห่า จึงถูกตั้งอีกชื่อหนึ่งว่า ‘งูเห่าตะลาน’ ใครเจอน้องก็อย่าตีกันนะเพราะน้องไม่มีพิษและเป็นตัวกำจัดศัตรูเกษตรกรอย่างหนูได้ดี แถมยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองอีกด้วย !

งูเขียวปากจิ้งจก 
เป็นงูเขียวอีกชนิดที่มีพิษอ่อนมาก โดยจะทำอันตรายได้เฉพาะสัตว์เล็ก ที่เป็นอาหาร เช่น จิ้งจก กิ้งก่า เป็นต้น
โดยจะมีขนาดตัวที่เล็ก หัวยาว ส่วนปลายของหัวเ
รียวแต่ขอบด้านหน้ามน ตาโต ลำตัวเรียวยาว สีลำตัวมีหลายแบบ แต่ทุกสีมีลวดลายบนลำตัวเหมือนกันคือ ผิวหนังระหว่างแผ่นเกล็ดที่มีสีขาวกับขอบของแผ่นเกล็ดที่มีสีดำได้เรียงตัวเป็นลวดลายในแนวเฉียงพาดลำตัว (ดูไปดูมาก็แอบคล้าย ‘ซูเนโอะ’ อยู่เหมือนกันนนะเนี่ย !)

ขอบคุณภาพต้นฉบับจาก Adam Francis

งูปล้องฉนวน
เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่คนมักกลัวกันมากเพราะเข้าใจผิดคิดว่าเป็น ‘งูทับสมิงคลา’ (งูที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในประเทศไทย) เพราะมีป้องสีขาวสลับดำที่คล้ายกันมาก
.
แต่ให้สังเกตุง่าย ๆ คือ ‘งูทับสมิงคลา’ จะมีลำตัวที่เป็นสันชัดคล้ายกับงูสามเหลี่ยมและมีเกล็ดกลางหลังเป็นรูปหกเหลี่ยมขนาดใหญ่ ส่วน ‘งูปล้องฉนวน’ จะมีลำตัวกลมกว่าเล็กกว่า ไม่มีเกล็ดรูปหกเหลี่ยม และลายช่วงหางจะไม่เป็นระเบียบ

งูสิงหางลาย
คนชอบเข้าใจกันผิดคิดว่าเป็น ‘งูจงอาง’ เนื่องจากมีลำตัวขนาดใหญ่ หางจะมีขีดเป็นเส้นดำ ๆ และมีหน้าตาที่ดุดัน คล้ายกับจงอาง เวลาเข้าบ้านจึงมักทำให้ถูกตีตายอยู่บ่อย ๆ

โดยงูชนิดนี้จัดได้ว่าเป็นงูไม่มีพิษขนาดกลาง (1.2-1.8 เมตร) มีนิสัยดุ ชอบกินหนูและสัตว์ตัวเล็ก ๆ เป็นอาหาร ช่วยควบคุมสัตว์ที่เป็นศัตรูพืชของเกษตรกร และจัดได้ว่าเป็นงูที่พบเจอได้ทั่วไป อีกทั้งยังชอบถูกนำไปทำเป็นอาหารอีกด้วย (น้องสัตว์ป่าคุ้มครองนะ ใครเอาไปกินผิดกฎหมายนะคะ!)

ขอบคุณภาพต้นฉบับจาก Adam Francis

งูกินทากเกล็ดสัน

เป็นงูไม่มีพิษขนาดเล็ก แต่ก็ชอบถูกเข้าใจผิดคิดว่าเป็นงูพิษเหมือนกันเพราะถ้าหากมองแบบผิวเผินก็แอบคล้ายกับงูพิษตระกูล Pit Viper ที่มีตากลมโต หัวออกทรงสามเหลี่ยม อยู่เหมือนกัน

โดยงูชนิดนี้จะมีหัวสีน้ำตาลอ่อน และมีแถบสีแดงหรือเหลืองที่คอ ส่วนลำตัวนั้นจะเป็นสีน้ำตาลแกมเทามีแถบแคบ ๆ พาดผ่าน ประกอบด้วยจุดดำสลับขาว

อีกทั้งยังกินหอยทากเป็นอาหารหลัก จึงช่วยควบคุมประชากรของหอยทากที่จะกัดทำลายต้นไม้ดอกไม้หรือพืชผลของเหล่าเกษตรกรได้เป็นอย่างดีอีกด้วย !

ขอบคุณภาพต้นฉบับ...Thomas Calame​

งูเขียวพระอินทร์

จัดได้ว่าเป็นงูที่มีพิษแต่พิษอ่อนมาก ผู้ถูกกัดจะมีอาการอักเสบ และบวมที่บริเวณบาดแผล แต่ที่แอดเลือกนำมาใส่ในคอนเทนต์ก็เพราะว่าอยากให้ทุกคนมองน้องใหม่ เพราะหลายคนเห็นงูเขียวก็มักจะตีความว่ามันมีพิษร้ายแรงทุกตัวจนทำให้น้องถูกตีตายอยู่บ่อยครั้ง

งูเขียวพระอินทร์ จะมีลักษณะหัวกลมมีลายมากจนดูคล้ายกับมีหัวสีดำ ลำตัวสีเขียวอ่อน มีลายดำตลอดตัว ส่วนใต้ท้องมีสีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน ๆ ใต้หางมีลายดำเป็นจุด ๆ ต่างจากงูเขียวหางไหม้ที่มีพิษอย่างเห็นได้ชัด

โดยส่วนใหญ่จะกิน กิ้งก่า จิ้งจก ลูกนก หนู หรืองูที่เล็กกว่าบางชนิด และแมลงต่าง ๆ ซึ่งถ้าหาอาหารไม่ได้น้องก็จะไปแย่งอาหารในปากตุ๊กแกกิน ด้วยการรัดบังคับให้ตุ๊กแกอ้าปากก่อนจะเอาหัวเข้าไปกินเศษอาหารข้างใน จนทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่างูเขียวมักกินตับตุ๊กแก แต่ถ้าตุ๊กแกตัวเล็กก็จะกลืนตุ๊กแกเข้าไปทั้งตัวเลย !

ขอบคุณภาพต้นฉบับ...Thomas Calame​

งูแสงอาทิตย์

จัดว่าเป็นงูท่ีมีถูกคนไทยเข้าใจผิดมากที่สุดว่าเป็นงูพิษ เพราะมีลักษณะคล้ายกับ ‘งูทับสมิงคลา สีแปรผัน’ (งูที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในประเทศไทย) จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้น้องถูกตีตายบ่อยๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วน้องเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองด้วยนะ !
.
ในความเป็นจริงแล้วงูแสงอาทิตย์นั้นไม่มีพิษแม้แต่นิดเดียว แถมน้องยังรักสงบ ไม่ดุร้าย เมื่อเผชิญหน้ากับคน ก็จะอยู่เฉยๆ หรือเลื้อยหนี แต่อาจมีการขู่คล้ายงูเห่าบ้าง
.
โดยงูแสงอาทิตย์จะมีเกล็ดสีน้ำตาลมันวาว เมื่อถูกแสงจะสะท้อนเป็นสีรุ้ง มีลำตัวและส่วนหัวแบนกว่า ‘งูทับสมิงคลา สีแปรผัน’
.
อีกทั้งยังเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่จะช่วยควบคุมประชากรรักษาระบบนิเวศ เพราะกินตั้งแต่ นก หนู กบ เขียด ไปจนถึงงูด้วยกันเอง ยิ่งงูพิษอย่างลูกงูเห่านั้นก็ชอบมากเหมือนกัน !

งูทางมะพร้าว
หรือที่ทุกคนรู้จักกันในนาม ‘พี่ห้าว’ นั้นจัดว่าเป็นอีกหนึ่งงูที่ไม่มีพิษ แต่ที่ถูกเข้าใจผิดเพราะว่า เวลาตกใจหรือรู้สึกไม่ปลอดภัยจะชูคอขึ้นขู่ หนังคอจะพองออกทำให้ดูน่ากลัว แต่ถึงเวลาจวนตัวจริง ๆ จะทำเป็นแกล้งตายนอนหงายท้อง !
.
ซึ่งจัดได้ว่าเป็นงูที่มีลวดลายสวยงามเลยทีเดียว เพราะมีสีพื้นลำตัวจากคอถึงกลางตัวเป็นสีเหลือง มีลายดำเลือน ๆ เป็นปล้อง และมีลายดำเป็นเส้นยาวไปตามลำตัว ส่วนท่อนหางจากกลางลำตัวไปเป็นสีส้มหรือน้ำตาลแดงไม่มีลาย
.
โดยงูชนิดนี้จะกินสัตว์เล็ก ๆ อย่าง หนู กบ นก กระรอก กระแต เป็นหลักและยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 อีกด้วย (รู้งี้อย่าตีพี่นะ!)

เรื่องราวดีๆ จาก

แองเคอ 1

คลิกที่ Green Civil เพื่อชมบน FaceBook

เชื่อว่าหลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้ว่าสัตว์ต่างๆ ที่มีให้เราไถ่ชีวิตตามหน้าวัดหรือในวัดนั้น มีความจริงอันแสนโหดร้าย เพราะสัตว์บางตัวต้องถูกจับมาเพื่อให้คนใจบุญได้ปล่อยโดยเฉพาะ หลายตัวปล่อยไปแล้วก็ไม่รอดเพราะพวกเขาไม่ได้แนะนำวิธีการปล่อยที่ถูกต้อง

เราจึงขอร่วมเป็นอีกหนึ่งเสียงที่อยากให้ทุกคนเลิกสนับสนุนพ่อค้าแม่ค้าที่นำสัตว์ที่น่าสงสารเหล่านี้มาขาย เพราะนอกจากจะไม่ได้ทำบุญแล้วจะกลายเป็นการทำบาปแทน

แต่ถ้าหากจะต้องหาวิธีปล่อยน้องจริงๆ เราก็ได้รวบรวมวิธีที่ถูกต้องไว้ให้แล้ว

ที่มา: https://home.maefahluang.org, https://tna.mcot.net/tna-71403

1.ปลาดุกบิ๊กอุย

“ปลาดุก” คือ ปลาที่นิยมเอามาปล่อยเป็นอันดับต้นๆ แต่รู้ไหมว่าที่ซื้อตามตลาด หรือหน้าวัดมาปล่อยกันนั้นส่วนใหญ่เป็น “ปลาดุกบิ๊กอุย” ที่ถูกผสมขึ้นมาใหม่ให้มีขนาดใหญ่กว่าปลาดุกทั่วไป จากเดิมที่มีนิสัยกินไม่เลือกอยู่แล้ว เมื่อนำไปปล่อยลงแม่น้ำจึงทำให้มันไล่กิน ปลาเล็ก ลูกปลา ไข่ปลาอื่นๆ ในบริเวณนั้นจนเกลี้ยง จนเกิดปัญหาระบบนิเวศตามมาในที่สุด ! จึงเป็นสัตว์ที่ไม่ควรปล่อยลงแม่น้ำเป็นอันขาด

2. ปลาไหล

เชื่อไหมว่าทุกๆ วันจะมีปลาไหลตัวเล็กถูกส่งมาจากเขมรเป็นพันๆ กิโล น้องๆ ต้องเบียดกันมาในกระสอบปุ๋ย บางตัวก็รอด บางตัวก็ตาย เพื่อเดินทางมาให้คนใจบุญได้ปล่อยลงแม่น้ำที่ไหลเชี่ยว โดยที่พวกเขาไม่รู้เลยว่านั่นเป็นการฆ่าน้องๆ โดยตรง เพราะธรรมชาติปลาไหลจะอยู่ในน้ำแฉะที่มีดินโคลนให้มุดเพื่อหลบพัก และไม่สามารถอยู่รอดในน้ำลึกที่ไหลเชี่ยวได้

3.นกกระติ๊ด

รู้ไหมว่า “นกกระติ๊ด” ตัวเล็กๆ สีน้ำตาลที่เห็นอยู่ในกรงตามวัด เป็นหนึ่งในสัตว์ป่าคุ้มครองหายากใกล้สูญพันธุ์เลยนะ ใคร ซื้อ-ขาย มีโทษทางกฏหมาย เจอปรับตัวละ 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ !

และถึงซื้อมาปล่อยพวกเขาก็หากินเองไม่เป็นแล้ว บางตัวอยู่ในกรงนานจนปีกอ่อนแรง บินไปได้ไม่ไกลก็ตาย เพราะแทบไม่มีแหล่งหากินในเมืองแล้ว ส่วนตัวที่ยังอยู่ในกรงก็ต้องเบียดกันจนตาย หรือบางตัวก็ขาหัก เพราะกรงที่อยู่คับแคบเกินไป

4.หอยขม

หอยขมเป็นสัตว์ที่อยู่ตามโคลนธรรมชาติที่ชื้นแฉะ มีเนินดิน ตลิ่ง กอหญ้า หรือที่มีไม้น้ำให้เกาะ เมื่อถูกปล่อยลงแม่น้ำที่ลึก และไม่มีที่ให้เกาะพักพิง จึงจมน้ำตายในที่สุด

5. เต่า

เต่าเป็นสัตว์ที่อายุยืนอันดับต้นๆ ของโลก แต่กลับต้องมาตายอย่างรวดเร็วด้วยความไม่รู้ของเหล่าคนใจบุญ เพราะไม่ใช่เต่าทุกชนิดจะว่ายน้ำได้ !
โดยเต่าจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. เต่าบก = ว่ายน้ำไม่ได้ เพราะกระดองหนัก และเท้าจะกลมไม่มีพังผืดให้ว่ายน้ำ

2. เต่าน้ำจืด = ว่ายน้ำได้ เพราะมีกระดองที่เบา มีเท้าแบน และมีพังผืดให้ว่ายน้ำ แต่ก็ต้องมีที่ให้พัก เพราะไม่งั้นน้องจะว่ายหาฝั่งไปเรื่อยๆ และเหนื่อยจนจมน้ำตายในที่สุด

3. เต่าทะเล = ว่ายน้ำได้ อยู่ในน้ำทะเลตลอด ยกเว้นตอนขึ้นมาวางไข่ โดยจะมีครีบหน้าที่ใหญ่ และกระดองที่เบาสำหรับว่ายน้ำโดยเฉพาะ 

6.กบ

‘กบ’ ไม่ใช่สัตว์น้ำ ! ถ้าโดนปล่อยลงแม่น้ำแล้วขึ้นฝั่งไม่ทันก็จะตายอย่างเดียว โดยวิธีปล่อยที่ถูกต้องคือ ปล่อยในบริเวณพื้นดินที่ชื้นแฉะ มีกอหญ้า ให้น้องได้หาอาหารกินต่อไป

bottom of page