top of page

Faculty and staff directory

นายเจียม ขันเงิน.png
สุพล เจริญศรี.png
นายนพรัตน์  เดชพันธ์.png

กศน. ตำบล กลุ่มโซนบูรพา

ครูอาสาสมัคร กศน.

นางสาวภาวดี  ศิริสาร.png

ตำบลขุมเงิน

ครู กศน. ตำบล กลุ่มโซนบูรพา

นายสิทธิพงษ์  ไชยมาตย์.png

ตำบลหนองเรือ

ครู กศน. ตำบล กลุ่มโซนศรีวิชัย

นายนิพันธ์พงษ์  จันทร์ทรง.png

ตำบลน้ำคำใหญ่

ครู กศน. ตำบล กลุ่มโซนสุพรรณหงส์

นางสาวภัทรวรรณ  บุรีศรี.png

ตำบลสำราญ

ครู กศน. ตำบล กลุ่มโซนบดินทรเดชา

ครูประจำกลุ่มหลักสูตร กศน. ระดับ ปวช.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง นโยบายและจุดเน้น
ของกระทรวงศึกษาธิการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เพิ่มเติม)

       ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2562 นั้น

เนื่องจากในห้วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งทำให้สังคมไทยต้องปรับเปลี่ยนชีวิตให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ หรือ New Normal จึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการให้มีความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้เรียน ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ดังนั้น นโยบาย “การศึกษายกกำลังสอง (Thailand Education Eco – System : TE2S) เป็นการศึกษาที่เข้าใจ Supply และตอบโจทย์ Demand” ดังกล่าว

       อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เพิ่มเติม) ดังนี้

หลักการตามนโยบาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เพิ่มเติม)

  • ปลดล็อก กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมให้สามารถดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการบริหารการศึกษาของประเทศให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

  • ปรับเปลี่ยน หลักสูตรการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ปรับเปลี่ยนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่านศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) เพื่อให้ครู Up Skill และ Re-Skill ของตนเองได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ เพื่อส่งต่อความรู้ไปยังผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และคนที่มีคุณภาพ

  • เปิดกว้าง เสรีทางการศึกษาให้ภาคเอกชนที่มีคุณภาพเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาร่วมประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) จากแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Education Excellence Platform : DEEP) ให้ครอบคลุมผู้เรียนทั่วประเทศ

        ทั้งนี้ เพื่อนำไปสู่นักเรียนยกกำลังสอง ที่เน้นเรียนเพื่อรู้ พัฒนาทักษะเพื่อทำ ครูยกกำลังสองที่เน้นเพิ่มคนเก่งมาเป็นครู พัฒนาครูในระบบ ห้องเรียนยกกำลังสองที่เน้นเรียนที่บ้าน ถามที่โรงเรียน หลักสูตรยกกำลังสองที่เน้นลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้  สื่อการเรียนรู้ยกกำลังสองที่เน้นเรียนผ่านสื่อผสมผสาน ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ได้แก่ On-Site เรียนที่โรงเรียน Online เรียนออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform : DEEP) ที่มีเนื้อหามาตรฐานจากผู้ผลิตที่เป็นภาคเอกชน On-Air เรียนผ่านโทรทัศน์ DLTV มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดยเนื้อหามาตรฐานจากผู้ผลิตที่เป็นภาคเอกชน และ On-Demand ซึ่งสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ที่มีอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์เชื่อมต่อ โรงเรียนยกกำลังสองที่มุ่งเน้นคุณภาพในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อความเป็นเลิศทางภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชนที่เน้นคุณภาพของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเพื่อความเป็นเลิศและความเชี่ยวชาญที่สามารถตอบโจทย์ทักษะและความรู้ที่เพิ่มความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน

จุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เพิ่มเติม)

       พัฒนาครูทุกระดับให้มีทักษะ ความรู้ที่จำเป็น เพื่อทำหน้าที่วิทยากรมืออาชีพ (Train The Trainer) และขยายผลการพัฒนาผ่านศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC)

จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านเว็บไซต์ http://www.deep.go.th โดยปลดล็อกและเปิดกว้างให้ภาคเอกชนสามารถเข้ามาพัฒนาเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียน ครู และผู้บริหารทางการศึกษามีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลาย และตลอดเวลาผ่านแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform : DEEP)

ให้ผู้เรียน ครู ผู้บริหารทางการศึกษามีแผนพัฒนารายบุคคลผ่านแผนพัฒนารายบุคคลสู่ความเป็นเลิศ (Excellence Individual Development Plan : EIDP)

จัดทำ “คู่มือมาตรฐานโรงเรียน” เพื่อกำหนดให้ทุกโรงเรียนต้องมีพื้นฐานที่จำเป็น”

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
นายณัฏฐพล  ทีปสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

        

bottom of page