

Website เพื่อการเรียนรู้
www.krubanlu.com
Ban-Kru

Donate เรา.....
ร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้

บนสมาร์ทโฟน โปรดเปิดด้วย Browser ของระบบ
จะพบคุณภาพของภาพ-ตัวอักษร ที่ลงตัว ที่สุด


ดาวน์โหลดสื่อการเรียน







รายงานการนิเทศ
การจัดกิจกรรม กศน.
ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2564
กศน. อำเภอเมืองยโสธร

1. นโยบายเร่งด่วน
1.1 การสร้างและพัฒนาศูนย์สาธิตและการเรียนรู้
“โคก หนอง นา โมเดล”
เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการบริหารทรัพยากรรูปแบต่างๆ และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่

หลักการ-เหตุผล
การจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ โคก-หนอง-นา โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ความรู้กับประชาชนให้สามารถ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวการบริการจัดการที่ดินของตนเองและสอดคล้องกับพื้นที่ที่ตนเองมีอยู่ จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ “โคก หนอง นาโมเดล” สู่วิถีพอเพียง เพื่อส่งเสริมความรู้ให้กับประชาชนสามารถนำมาประยุกต์ในการบริหารจัดการที่ดินให้เกิดประโยชน์และเหมาะสมในการทำการเกษตรและอยู่อย่างพอเพียงได้
สภาพขั้นตอนการดำเนินการ
ดำเนินการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” เพื่อให้ประชาชนเรียนรู้ศาสตร์พระราชาและสามารถนำมาประยุกต์ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ โดย จัดอบรมให้ความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ให้กับประชาชนจำนวนทั้งสิ้น 80 คน (จาก 4 กลุ่มโซนๆละ 20 คน)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
1) จำนวนผู้เข้ารับการอบรมเป็นไปตามแผนจัดการอบรม จำนวน 80 คน
2) มีหลักสูตร-สื่อ ที่ชัดเจน เอื้อต่อการเรียนรู้
3) วิทยากร มีความรู้ความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
4) ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน และส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงได้
1.2 หนึ่งชุมชน หนึ่งนวัตกรรม
การพัฒนาชุมชน เพื่อความกินดีอยู่ดีมีงานทำของประชาชน
หลักการและเหตุผล
ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน อาทิ การส่งเสริมการฝึกอาชีพ ที่เป็นอัตลักษณ์และบริบทของชุมชน ส่งเสริมการตลาด และขยายช่องทางการจำหน่าย เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์/สินค้า กศน.

กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่

ตำบลหนองเรือ อำเภอเมืองยโสธร

กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่

กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่
สภาพขั้นตอนการดำเนินการ
คัดเลือกกลุ่มอาชีพที่มีความพร้อมที่จะเข้ารับการพัฒนาต่อยอด สามารถยกระดับผลงานด้านอาชีพขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ได้แก่กลุ่มอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ บ้านเลขที่ 34 หมู่ 8ตำบลหนองเรือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
-
กลุ่มเป้าหมายตามแผน : = 18 คน
-
ผู้เข้าร่วม-ผ่านกิจกรรม = 18 คน
-
ระดับความพึงพอใจ = 5 (มากที่สุด)
สภาพขั้นตอนการดำเนินการ
คัดเลือกกลุ่มอาชีพที่มีความพร้อมที่จะเข้ารับการพัฒนาต่อยอด สามารถยกระดับผลงานด้านอาชีพขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ได้แก่กลุ่มอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ บ้านเลขที่ 34 หมู่ 8ตำบลหนองเรือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
-
กลุ่มเป้าหมายตามแผน : = 18 คน
-
ผู้เข้าร่วม-ผ่านกิจกรรม = 18 คน
-
ระดับความพึงพอใจ = 5 (มากที่สุด)

หมายเหตุ
การประเมินระดับความพึงพอใจ ใช้เกณฑ์การประเมิน 4 ด้าน ประกอบด้วย
-
ด้านเนื้อหา
-
ด้านกระบวนการจัดกิจกรรมการอบรม
-
ด้านวิทยากร
-
การอำนวยความสะดวก
สอบถามเกี่ยวกับ ความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมี ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วน "ประมาณค่า" 5 ระดับ (Rating Scale) โดยใช้มาตราส่วน ประมาณค่าของลิเคิร์ท ( Likert) คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด โดยมีเกณฑ์การ แปลความหมายดังนี้
-
5 หมายถึง มี ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
-
4 หมายถึง มีระดับความพึงพอใจในระดับมาก
-
3 หมายถึง มีระดับความพึงพอใจในระดับปานกลาง
-
2 หมายถึง มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย
-
1 หมายถึง มีระดับความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด
1.3 จัดโครงการจิตอาสา พระราชทาน
“เราทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์”
หลักการและเหตุผล
โครงการจิตอาสาพระราชทาน “เราทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” เพื่อให้ นักศึกษามีความรู้ในการปฏิบัติจิตอาสาและมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันหลักของชาติ คือ ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ กับการพัฒนาประเทศและการนำประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตต่างๆ และให้รับรู้ถึงพระราโชบาย ของในหลวงรัชกาลที่ 10 เรื่อง การสืบสาน รักษา ต่อยอด น าทฤษฎีของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาสู่การปฏิบัติให้เห็นผล

กลุ่มโซน: บดินทร์เดชา

กลุ่มโซน : บูรพา

กลุ่มโซนบูรพา

กลุ่มโซน: บดินทร์เดชา
สภาพขั้นตอนการดำเนินการ
จัดการอบรมให้ความรู้-ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติจิตอาสาและการสาธิต-ฝึกปฏิบัติการปฐม พยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันหลักของชาติ
คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการจากนักศึกษา กศน. หลักสูตรขั้นพื้นฐานทุกระดับ จาก กศน. ตำบลทั้ง 18 ตำบล
แบ่งการจัดการอบรมเป็น 4 กลุ่ม ตามกลุ่มโซน กศน. ตำบล โดยคณะวิทยากรผู้ให้ความรู้ 4 ชุด
-
กลุ่มเป้าหมายตามแผน : = 144 คน
-
ผู้เข้าร่วม-ผ่านกิจกรรม = 144 คน
-
ระดับความพึงพอใจ = 4.75 (มากที่สุด)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความส าเร็จ
-
ผู้เข้ารับการอบรมเป็นไปตามแผนจัดการอบรม
-
มีหลักสูตร-สื่อ-การแสดงบทบาทสมมติที่ชัดเจน เอื้อต่อการเรียนรู้
-
วิทยากร มีความรู้ความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
-
ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะความชำนาญนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประวันได้
1.4 การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
ในรูปแบบ “Re-Skill & Up-Skill”
หลักการและเหตุผล
ส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำในรูปแบบ “Re-Skill & Up-Skill” และการสร้าง นวตกรรมและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมีความหลากหลาย ทันสมัยและสามารถออกแบบใบรับรองความรู้ ความสามารถเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพได้
กศน. อำเภอเมืองดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงนี้ 2 รูปแบบ ดังนี้

วิชาชีพช่างพื้นฐาน 33 ชั่วโมง

วิชาชีพช่างพื้นฐาน 33 ชั่วโมง

วิชาชีพช่างพื้นฐาน 33 ชั่วโมง

วิชาชีพช่างพื้นฐาน 33 ชั่วโมง
สภาพขั้นตอนการดำเนินการ (โครงการที่ 1)
จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ วิชาช่างพื้นฐาน หลักสูตร 33 ชั่วโมง โดยจัดการฝึกอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ ฝึกปฏิบัติงานช่างอาชีพพื้นฐานที่จ าเป็นตามบริบทของชุมชน มีความหลากหลาย รองรับความต้องการ ของพื้นที่ ประกอบด้วย
1) ช่างทาสี จำนวน 2 กลุ่ม
- กลุ่มที่ 1 จัด ณ กศน. ตำบลสิงห์ ผู้เข้าร่วมโครงการ 12 คน
- กลุ่มที่ 2 จัด ณ กศน. ตำบลค้อเหนือ ผู้เข้าร่วมโครงการ 12 คน
2) ช่างเชื่อมโลหะ จำนวน 1 กลุ่ม จัด ณ กศน. ตำบลทุ่งนางโอก ผู้เข้าร่วมโครงการ 12 คน
3) ช่างทำฝ้าเพดาน จำนวน 1 กลุ่ม จัด ณ กศน. ตำบลสำราญ ผู้เข้าร่วมโครงการ 12 คน
4) ช่างปูน จำนวน 3 กลุ่ม
- กลุ่มที่ 1 จัด ณ กศน. ตำบลหนองคู ผู้เข้าร่วมโครงการ 12 คน
- กลุ่มที่ 2 จัด ณ กศน. ตำบลหนองเป็ด ผู้เข้าร่วมโครงการ 12 คน
- กลุ่มที่ 3 จัด ณ กศน. ตำบลขุมเงิน ผู้เข้าร่วมโครงการ 12 คน
-
กลุ่มเป้าหมายตามแผน : = 96 คน
-
ผู้เข้าร่วม-ผ่านกิจกรรม = 96 คน
-
ระดับความพึงพอใจ = 4.82 (มากที่สุด)

หลักสูตร 6 ชั่วโมง

หลักสูตร 6 ชั่วโมง

หลักสูตร 6 ชั่วโมง

หลักสูตร 6 ชั่วโมง
สภาพขั้นตอนการดำเนินการ (โครงการที่ 2)
จัดกิจกรรมตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน วิชาชีพระยะสั้น หลักสูตรการทำหน้ากากอนามัยผ้า ๖ ชั่วโมง ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้ผลผลิตจากการอบรม รองรับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคจากเชื้อไวรัสโคโร นา (COVID-19) โดยดำเนินการดังนี้
1) คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการเป็นประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ กศน. ตำบลทั้ง 18 ตำบล ตำบลละ 8 คน รวมทั้งสิ้น 2) จัดการอบรมแยกตาม กศน. ตำบล โดยคณะวิทยากรผู้ให้ความรู้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มี ความรู้และประสบการณ์ในการเย็บหน้ากากอนามัย
-
กลุ่มเป้าหมายตามแผน : = 144 คน
-
ผู้เข้าร่วม-ผ่านกิจกรรม = 144 คน
-
ระดับความพึงพอใจ = 4.92 (มากที่สุด)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
-
จำนวนผู้เข้ารับการอบรมเป็นไปตามแผนจัดการอบรมทั้งสองโครงการ จำนวน 240 คน
-
มีหลักสูตร-สื่อ-การสาธิต ที่ชัดเจน เอื้อต่อการเรียนรู้
-
วิทยากร มีความรู้ความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดทักษะ ความรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
-
ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประวันได้