top of page

สวนสุกฤตา

เพราะต้นไม้ให้ความร่มรื่น

โทร. 0994592485

         ต้นไม้ประดับมีประโยชน์ทั้งการตกแต่งบ้านและช่วยฟอกอากาศภายในบ้านให้มีความสะอาดมากขึ้น พร้อมสร้างความรู้สึกที่ดี ให้ความสดชื่น และทำให้ทุกคนภายในบ้านสัมผัสได้ถึงความสวยงามของทั้งใบและดอกที่ผลิตบาน เหมาะสำหรับการตั้งบนโต๊ะทำงาน ดังนั้นจึงสามารถตั้งประดับได้ทั้งภายในบ้านและภายในออฟฟิศ ดังนั้นจึงขอแนะนำ 1,000 สายพันธุ์ต้นไม้ประดับสำหรับการตกแต่งที่ปลูกง่าย เป็นสายอึด ดูแลไม่ต้องมากก็เติบโตได้อย่างแข็งแรงในทุกสภาพอากาศ ดังนี้

94582.jpg

มารู้จัก
ต้นคล้า 7 ชนิด

สไลด์1.PNG

นางพิมพ์

นกยุงแดง

สไลด์3.PNG

ใบเงิน

กาเหว่าแดง

สไลด์5.PNG

ใบตอง

สไลด์7.PNG

ครีมสัน

คล้า

ชื่อวิทยาศาสตร์: Calathea picturata (Linden) K.Koch & Linden ‘Argentea’
วงศ์: Marantaceae
ประเภท: ไม้ล้มลุกอายุหลายปี
ความสูง: 30 – 50 เซนติเมตร
ลำต้น: มีเหง้าสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน
ใบ: ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ รูปรี กว้าง 8 – 10 เซนติเมตร ยาว 15 – 20 เซนติเมตร ปลายใบแหลม พื้นใบสีขาวอมเทา ขอบใบสีเขียวเข้ม ใต้ใบสีม่วงแดง ก้านใบยาว สีแดงอมน้ำตาล
ดอก: ออกเป็นช่อจากโคนต้น ใบประดับสีน้ำตาลแดง ดอกสีขาวขนาดเล็ก ออกดอกเดือนมีนาคม – ตุลาคม
อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง
ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดีหรือดินร่วนปนทราย
แสงแดด: รำไร
ขยายพันธุ์: แยกกอ
การใช้งานและอื่นๆ : คล้าชนิดนี้เกิดขึ้นจากการคัดพันธุ์ของ C. picturata จนมีลักษณะเด่นที่นิ่ง จึงตัดใบมาจัดดอกไม้หรือปักแจกันได้ดีและทนทาน เชื่อกันว่าจะทำให้ทำมาค้าขึ้น เก็บเงินได้เป็นกอบเป็นกำ

ไม้ประดับในสวน
พร้อมชื่อพันธุ์ไม้
94606.jpg

กล้วยพัด

เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีลักษณะโดดเด่น มีลำต้นคล้ายปาล์ม ใบคล้ายกล้วย กล้วยพัดเป็นพืชในวงศ์เดียวกับปักษาสวรรค์ อย่างไรก็ตาม การจำแนกกลุ่มพืชในวงศ์นี้ยังเป็นที่ถกเถียง บางครั้งก็นำกล้วยพัดไปไว้ในสกุลเดียวกับกล้วย ก็มี

ไม้มงคล-ตามชื่อ
ต้นเงิน

94239.jpg

ปักษาสวรรค์

Bird of Paradise

ไม้มงคล-ตามชื่อ

ต้นทอง

94288.jpg

มหาพรามหม

ไม้มงคล-ตามชื่อ
ต้นนาก

94304.jpg

กวักมรกต

94340.jpg

คล้ากาเหว่าลาย

94338.jpg

คล้าใบเงิน

94335.jpg

ไผ่กวนอิม

94324.jpg

บอนสี

94331.jpg

เตยด่าง

94341.jpg

เศรษฐีก้านทอง

94336.jpg

เดหลี

94332.jpg

เตยด่าง/เศรษฐีเรือนใน

94322.jpg

บอนสี

94323.jpg

รวยล้นฟ้า

94339.jpg

หลิว

94337.jpg

เศรษฐีรับเงิน

94333.jpg

ปีกผีเสื้อ

94321.jpg

ออมเงิน

94316.jpg

พลูด่าง

94324.jpg
94322.jpg
94287.jpg
บอนสี "ราชินีแห่งไม้ใบ"
ต้นไม้ที่กำลังมาแรงและสามารถปลูกในบ้านได้

การปลูกไม้ใบในบ้านรวมถึงปลูกในกระถางประดับตามมุมต่างๆของสวนกลายเป็นเรื่องฮิตจนหลายคนหันมาปลูกเลี้ยงไม้ประดับกันมากขึ้น มีการตามหาไม้ใบสวยหลากหลายรูปแบบเพื่อให้ได้มาครอบครอง หนึ่งในนั้นคือ “บอนสี” ซึ่งคนไทยรู้จักและปลูกเลี้ยงกันมานาน มีการพัฒนาสายพันธุ์จนเกิดลูกผสมใหม่ๆ และได้รับยกย่องว่าเป็น “ราชินีแห่งไม้ใบ”
บอนสี

ในวงการผู้ปลูกเลี้ยงบอนสีมีคำศัพท์ที่บัญญัติเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2475 เพื่อให้ผู้ปลูกเลี้ยงเข้าใจถึงส่วนต่างๆของบอนสีได้ตรงกัน เมื่อต้องการจดทะเบียนตั้งชื่อพันธุ์ โดยสมาคมบอนสีแห่งประเทศไทยได้คัดสรรคำศัพท์ที่น่าสนใจไว้ให้ ดังนี้

1. จอม คือ ส่วนยอดของหัวซึ่งเป็นจุดกำเนิดของใบ

2. พร่า คือ จุดเล็ก ๆ ที่แผ่กระจายบนพื้นใบ

3. หนุนทราย คือ จุดสีเล็ก ๆ คล้ายเม็ดทรายบนพื้นใบ แต่มองเห็นราง ๆ

4. กระดูก คือ เส้นใบหลักที่อยู่กึ่งกลางใบ ออกจากสะดือไปจรดปลายใบ

5. เส้น คือ เส้นใบย่อยที่แตกแขนงจากกระ ดูกมีสีเดียวกับกระดูก

6. วิ่งพร่า คือ จุดเล็ก ๆ ที่แผ่กระจายเสียบข้างกระดูก อาจมีสีเดียวกันหรือต่างจากกระดูก

7. ร่างแห คือ เส้นใบย่อยที่แตกแขนงจากเส้น มีสีต่างจากพื้นใบ

8. เม็ด คือ จุดหรือแต้มที่มีสีแตกต่างจากพื้นใบ อาจเล็กหรือใหญ่ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ซึ่งมีชื่อเรียกดังนี้

    – เม็ดเล็ก คือ จุดเล็ก ๆ กระจายทั่วใบ

    – เม็ดใหญ่ คือ จุดขนาดใหญ่ อาจเป็นสีขาวหรือสีอื่นๆ กระจายอยู่บนใบ

    – เม็ดกลม คือ จุดกลมบนใบที่มีสีแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์

    – เม็ดกลม คือ จุดกลมบนใบที่มีสีแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์

    – เม็ดลอย คือ เม็ดที่มองเห็นได้ชัดกระจายทั่วใบ

    – เม็ดจม คือ เม็ดที่ปรากฏลึกลงไป มีสีกลมกลืนกับพื้นใบจนเห็นไม่ชัดเจน

    – เม็ดใหญ่พร่า คือ เม็ดใหญ่ที่ปรากฏอยู่บนพื้นใบ แต่สีจางกว่า เห็นไม่ชัดเจน

    – เม็ดถี่ อาจเป็นเม็ดกลม เม็ดใหญ่ เม็ดใหญ่พร่าที่มีจำนวนมาก สีต่างจากพื้นใบชัดเจน

9. สะดือ คือ ตำแหน่งที่เส้นใบมาจรดกันบริเวณกลางใบ ตรงกับตำแหน่งที่ติดกับก้านใบพอดี

10. หูใบ คือ ส่วนด้านล่างของใบที่แยกออกจากกันจนใกล้กับสะดือหรือถึงสะดือ

11. หว่างหู คือ บริเวณใบที่หยักเว้าเป็นหูใบ

12. สะโพก คือ ด้านล่างของส่วนกว้างของหูใบ

13. คอใบ คือ ปลายก้านใบที่จรดกับด้านหลังของสะดือ

การปลูกบอนสี

    1. เปลี่ยนกระถางหรือเปลี่ยนดินปลูก ต้องนำกระถางบอนสีต้นเดิมมาแช่น้ำให้ปริ่มขอบกรถางนาน 5-10 นาที เพื่อให้ดินปลูกชุ่มน้ำและร่อนออกจากหัว เวลาแกะออกจากกระถาง รากจะไม่ขาดหรือบอบช้ำ

    2. อย่าปลูกให้หัวหรือรากลอย ควรกลบดินให้มิดหัวหรือลึกประมาณ 3 เซนติเมตร

    3. อาจหาไม้ค้ำใบบอนและเช็ดใบให้สะอาด จะช่วยให้ทรงพุ่มสวยงาม ต้นบอนสีสดใสขึ้น

    4. ถ้าต้องการส่งไม้เข้าประกวด สามารถตกแต่งต้นบอนสีให้สวยตามกติกาการประกวด เช่น การค้ำใบให้สวย การเช็ดใบให้สะอาด แต่ห้ามฉีดสารที่ช่วยให้ใบมัน หรือนำกระดาษสีไปติดบนตำหนิที่ใบ เป็นต้น

    5. บอนสีพักตัวในช่วยฤดูหนาว ใบจะค่อยๆเหี่ยวแห้งจนไม่มีใบ ผู้ปลูกควรงดให้น้ำ ปล่อยให้หัวแห้งในกระถาง หรือขุดหัวขึ้นมาผึ่งให้แห้งในที่ร่ม 2-3 วัน แล้วใส่ถุงกระดาษเก็บไว้ในที่ร่ม พอถึงฤดูฝนก็นำมาปลูก โดยฝังหัวลงดินในกระถางที่จะปลูก แล้วรดน้ำให้ชุ่ม บอนสีก็จะค่อยๆแทงรากแทงปลีเป็นใบต่อไป

มารู้จักกับบอนสีประเภทต่างๆ

    มาเริ่มต้นทำความรู้จักกับบอนสี โดยการรู้จักแยกแยะบอนสีประเภทต่างๆ ที่มีอยู่หลายร้อยชนิด ตามหมวดหมู่ต่างๆกัน ความแตกต่างของบอนสีแต่ละชนิด แต่ละพันธุ์ อยู่ที่ลักษณะของใบที่มีสีสันลวดลายสวยงามจำแนกตามรูปใบเป็น 5 ประเภทคือ

1. บอนใบไทย ใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ก้านใบกลมออกจากกึ่งกลางใบ หูใบฉีกไม่ถึงสะดือ

2. บอนใบยาว ใบรูปหัวใจคล้ายบอนใบไทย แต่ใบเรียวกว่า ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบกลมออกจากโคนใบหู ใบยาวฉีกถึงก้านใบ

3. บอนใบกลม ใบค่อนข้างกลม ปลายใบมนหรือมนมีติ่งแหลม ก้านใบกลมอยู่กึ่งกลางใบ

4. บอนใบกาบ ใบคล้ายรูปหัวใจ ก้านใบแผ่แบนตั้งแต่โคนใบถึงแข้ง ลักษณะคล้ายใบผักกาด

5. บอนใบไผ่ ใบรูปแถบ รูปใบหอกแคบ หรือเป็นเส้น ปลายใบเรียวแหลมคล้ายใบไผ่ หูใบสั้นมาก (หูรูด) ความกว้างของใบไม่เกิน 2 นิ้ว

94254.jpg

พลูด่าง

วาสนาราชินี

94516.jpg

วาสนาราชินี

94515_edited.jpg

วาสนาราชินี

20210221_181236.jpg

เดหลี

20210221_181311.jpg

คาลล่าลิลี่

20210221_181324.jpg

คาลล่าลิลี่

คาลล่า ลิลี่(Calla Lily)

        เป็นไม้ดอกประเภทหัวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zantedeschia spp. อยู่ในวงศ์ (Family) Araceae มีถิ่นกำเนิดในอัฟริกาใต้มีหลากหลายสายพันธุ์ใช้ได้ทั้งเป็นไม้ตัดดอกไม้ประดับ และไม้กระถาง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

       กลุ่มที่ 1  ประเภทไม้หัวยืนต้น หรือกลุ่มที่ไม่มีการพักตัว เช่น Zantedeschia aethiopica มีดอกสีขาวใบเขียวเข้มเป็นมันออกดอกตลอดปี ดอกดกในช่วงฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อนปริมาณดอกจะลดลงในช่วงฤดูฝน ชอบแสงอาทิตย์เจริญเติบโตได้ดีภายใต้การพลางแสง 50-70 เปอร์เซ็นต์ จะให้ดอกที่ มีคุณภาพปริมาณการให้ดอกประมาณ 15-17 ดอกต่อกอต่อปี ดอกสามารถปักแจกันในน้ำธรรมดาได้นาน 7-14 วัน

        กลุ่มที่ 2  ประเภทไม้หัวล้มลุกหรือกลุ่มที่มีการพักตัวมีหลากหลายพันธุ์ เช่น Z. elliottiana, Z. albomaculata, Z. pentlandii, Z. rehmanii, Z. jucanda มีการผลิตหัวใตัดินและพักตัวในช่วงฤดูหนาวลักษณะการเจริญเติบโตรูปร่างและสีของใบแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์จำนวนดอกต่อต้นขึ้นอยู่กับขนาดของหัวพันธุ์ พันธุ์ที่นิยมปลูกกันในปัจจุบันได้แก่ Black eye, Black magic, Childsiana, Green calla และ Sunlight

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
        หัวและราก
        หัวของคาลล่า ลิลลี่ เรียกว่า“ไรโซม“(Rhizome) หรือ “ทิวเบอร์”(Tuber) เจริญอยู่ใต้ดิน ที่หัวมีตาอยู่มากมายซึ่งจะเจริญและพัฒนาขึ้นเมื่อได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ส่วนรากเป็นระบบรากย่อยเจริญออกมาจากหัว
        ดอกและช่อดอก
        ช่อดอก (spadix) ตั้งอยู่ตรงกลาง spathe ที่มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดและพันธุ์ช่อดอกจะประกอบด้วยกลุ่มเกสรตัวผู้อยู่ด้านบน ซึ่งเมื่อแก่จะพบละอองสีเหลืองอยู่มากมายและเกสรตัวเมียเมื่อแก่จะมีน้ำเมือกเหนียวๆ ติดอยู่ด้านล่างของช่อดอกเมื่อดอกได้รับการผสมพันธุ์จะติดเมล็ดและเมื่อเมล็ดแก่เนื้อหุ้มเมล็ดมีสีส้ม

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของ คาลล่า ลิลลี่
        แสงและช่วงแสง
        คาลล่า ลิลลี่ เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งกลางแจ้งและร่มรำไรระดับความเข้มของแสงและความยาวของวันไม่มีอิทธิพลต่อการออกดอกส่วนความยาวของวันจะมีผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นเมื่อได้รับความยาวของวันมากขึ้นจะทำให้ลำต้นสูงขึ้นกว่าต้นที่ได้รับสภาพวันสั้นและการพลางแสงด้วย ซาแลน 50 – 70 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่มที่ไม่มีการพักตัว (Zantedeschia aethiopica) จะทำให้คุณภาพดอกด้านความยาวก้านและทรงพุ่มสูงขึ้น
        อุณหภูมิ
        อุณหภูมิมีผลต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของ คาลล่า ลิลลี่ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูก คาลล่า ลิลลี่ มีความสำคัญคือ อุณหภูมิดินและอุณหภูมิอากาศ อุณหภูมิกลางวันและอุณหภูมิกลางคืน อุณหภูมิกลางวัน/อุณหภูมิกลางคืน ที่ 18 – 24 องศาเซลเซียส/12 – 18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิดินที่ 18 – 24 องศาเซลเซียสถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้จะทำให้เหมาะสมในการเกิดโรคได้การพลางแสงหรือการคลุมแปลงจะช่วยลดอุณหภูมิดินได้และทำให้คุณภาพของดอกดีขึ้น
        ศัตรูสำคัญ ของคาลล่าลิลลี่
        แมลงศัตรูของ คาลล่า ลิลลี่ ที่พบมากที่สุดคือ หนอน เพลี้ยอ่อน ทาก และหนอนเจาะลำต้น ป้องกันกำจัดโดยใช้ยาสัมผัส และยาดูดซึมโรคที่เป็นปัญหามากที่สุดของ คาลล่า ลิลลี่ คือโรคเน่าเละ เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia sp., Fusarium sp. และเชื้อแบคทีเรีย Erwinia sp. จะพบมากในกลุ่มของที่มีการพักตัวโดยเฉพาะแปลงที่มีความชื้นสูง

การขยายพันธุ์
        การขยายพันธุ์

        คาลล่า ลิลลี่ สามารถทำได้หลายวิธี คือ

        1. การเพาะเมล็ด เป็นวิธีการที่นิยมทำเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ผลิตลูกผสมพันธุ์ใหม่ๆ แปลกๆ แต่ไม่นิยมทำในการผลิตเพื่อตัดดอก

        2. การขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ เพิ่มปริมาณให้มาก ในกลุ่ม Z.aethiopica หลังปลูกจะใช้เวลา ให้ดอกนาน 2-6 เดือน ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่อ ส่วนในกลุ่มที่มีการพักตัวการให้ดอกขึ้นอยู่กับขนาดของหัวพันธุ์ หัวพันธุ์ที่มีขนาดเล็กจะต้องปลูกเลี้ยงหัวเพื่อให้หัวมีขนาดใหญ่ขึ้นจึงจะสามารถปลูกเพื่อตัดดอกได้

        3. การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นการขยายพันธุ์ที่สมารถเพิ่มปริมาณต้นได้จำนวนมากในระยะเวลาที่สั้น นิยมทำกันในการปลูกเพื่อตัดดอกเป็นการค้าหลังจากนำต้นออกขวดสามารถให้ดอกได้ภายใน 6-7 เดือน (สำหรับกลุ่ม Z.aethiopica) ส่วนในกลุ่มที่มีการพักตัว การขยายพันธุ์โดยวิธีนี้หลังจากนำต้นออกขวดจะต้องปลูกเพื่อให้ได้หัวพันธุ์มีขนาดที่เหมาะสมโดยต้องปลูก 2-3 ครั้ง เพื่อให้ได้หัวขนาด 4-5 เซนติเมตร จึงจะสามารถปลูกเพื่อตัดดอกได้

94239.jpg

ปักษาสวรรค์

94287.jpg

บอนสี

94290.jpg

แก้วสารพัดนึก

94263.jpg
94268.jpg
94269.jpg

บัวอะเมซอน

94270.jpg
94271.jpg

รางเงิน-ว่านสี่ทิศ

94281.jpg

หมากผู้หมากเมีย-เทียนทัด

bottom of page